กฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานและผู้บริหารควรรู้
top of page

กฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานและผู้บริหารควรรู้

#กฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานและผู้บริหารควรรู้ #กฎหมายแรงงาน


กฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานและผู้บริหารควรรู้


กฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยดี ได้รับประโยชน์ที่เหมาะสม

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ตอบประเด็นปัญหาด้านแรงงานที่ผู้บริหารควรรู้ พร้อมบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการที่มีผลกระทบด้านแรงงาน พร้อมทั้ง Update กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ 2562 ที่มีการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งอธิบายแนวทางแก้ไข ปรับปรุงระเบียบข้อบังคับที่มีผลกระทบกับการจ้างงานที่ถูกต้องตามกฎหมายใหม่ ซึ่งจะช่วยให้สามารถบริหารคนในองค์กรได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิผล


ทั้งนี้ ผู้บริหาร จะได้เรียนรู้การบริหารจัดการบุคลากร โดยเข้าใจบทบาทหน้าที่ ตามกฎหมายแรงงาน และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การลงโทษทางวินัย การลา ประเภทต่างๆ ที่เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อ พรบ.คุ้มครองแรงงาน และ พรบ.แรงงานสัมพันธ์



กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

  • งานทั่วไป ไม่เกิน 8 ชั่วโมง /วัน หรือตามที่ตกลงกัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์

  • ส่วนงานทั่วไปที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ให้มีเวลาทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์


SEXUAL HARASSMENT “ล่วงเกินทางเพศ”

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ปี 2551 มาตรา 16 แก้ไขข้อบกพร่อง เดิมโดยบัญญัติใหม่ว่า “ห้ามมิให้นายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกิน คุกคามหรือก่อความเดือดร้อน รำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง”

SEXUAL HARASSMENT “ล่วงเกินทางเพศ”

คำว่า "ล่วงเกิน" หมายถึง แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณีหรือจรรยามารยาท ด้วยการลวนลาม (หมายถึงล่วงเกินในลักษณะชู้สาวด้วยการพูดหรือกระทำเกินสมควร เช่น พูดจาลวนลามถือโอกาสจับมือถือแขน) ดูหมิ่น (หมายถึงแสดงกริยาท่าทางฯเป็นเชิงดู ถูกว่าด้อยกว่าต่ำกว่า) สบประมาท เป็นต้น

  • คำว่า "คุกคาม" หมายถึง แสดงอำนาจด้วยกริยาหรือวาจาให้หวาดกลัวทำให้หวาดกลัว

  • คำว่า "รำคาญ" หมายถึง ระคายเคือง เบื่อ ทำให้เดือดร้อนเบื่อหน่าย

ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้

  • หากลูกจ้าง ทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้าง จะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้

  • หากลูกจ้าง ทำงานมาแล้ว 120 วัน - 1 ปี นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย

  • หากลูกจ้าง ทำงานมาแล้ว 1 -3 ปี นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย

  • หากลูกจ้าง ทำงานมาแล้ว 3 -6 ปี นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย

  • หากลูกจ้าง ทำงานมาแล้ว 6 -10 ปี นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย

  • หากลูกจ้าง ทำงานมาแล้ว 10 -20 ปี นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย

  • หากลูกจ้าง ทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย


นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้าง มี 2 กรณี คือ


นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างได้แค่ไหน

การพักงานมี 2 กรณีคือ

  1. การพักงานระหว่างสอบสวน

  2. การลงโทษโดยการพักงาน

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในมาตรา 116 และ มาตรา 117 โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้

  • นายจ้าง ได้มีคำสั่งพักงาน เป็นหนังสือระบุความผิด และกำหนดระยะเวลาพักงาน ซึ่งต้องไม่เกิน 7 วัน และ

  • นายจ้าง ได้แจ้งให้ลูกจ้างทราบ ก่อนการพักงานนั้นแล้ว

  • นายจ้าง ต้องจ่ายค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้างในระหว่างพักงาน ไม่น้อยกว่า 50% ของค่าจ้างปกติ


รายการที่ควรมีในหนังสือเตือน

รายการที่ควรมีในหนังสือเตือน

(1) วัน / เดือน / ปี

(2) สถานที่

(3) ข้อความแจ้ง เจาะจงตัวลูกจ้างที่ฝ่าฝืน

(4) ข้อเท็จจริงโดยย่อ

(5) ข้ออ้างที่ระบุว่าการกระทำนั้นฝ่าฝืนข้อใด / เรื่องใด

(6) ข้อความที่มีลักษณะเป็นการตักเตือน

(7) ลายมือชื่อผู้ออกหนังสือเตือน



ขั้นตอนการลงโทษทางวินัย

การลงโทษทางวินัยพนักงาน คือ การออกบทลงโทษในรูปแบบต่างๆ เมื่อพนักงานทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานขององค์กรที่ตั้งไว้ และได้ตกลงร่วมกันก่อนเริ่มงานแล้ว โดยตัวอย่างการลงโทษทางวินัย


การลงโทษโดยการพักงาน

การลงโทษลูกจ้างด้วยการพักงานนั้น ไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง

แต่ก็ต้องมีหลักเกณฑ์ เช่นเดียวกัน กับเกณฑ์การพักงาน ในระหว่างระหว่างสอบสวน คือ ต้องมีข้อบังคับกำหนดโทษพักงานไว้ด้วย ต้องกำหนดระยะเวลาการพักงาน และต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนการลงโทษ

ดู 4,414 ครั้ง
Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page