HOW TO เทคนิคการลงโทษทางวินัยในเชิงบวก ที่ HR ควรรู้
อัปเดตเมื่อ 29 มี.ค. 2565
#ระเบียบข้อบังคับในการทำงาน #กฎระเบียบบริษัท #การลงโทษทางวินัย #กฎระเบียบข้อบังคับในการทํางาน #กฎข้อบังคับบริษัท #กฎหมายแรงงาน #กฎหมายคุ้มครองแรงงาน #อบรมhr #ฝึกอบรมhr #คอร์สเรียนhr #หลักสูตรอบรมhrมือใหม่ #การพัฒนาบุคคล #อบรมสัมมนา #สถาบันฝึกอบรม #หลักสูตรอบรมผู้บริหาร #อบรมอินเฮาส์ #InhouseTraining #PublicTraining #อบรมออนไลน์ฟรี #อบรมฟรี #HRTraining
”การจัดทำกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน ที่สำคัญในสถานประกอบการ” เป็นข้อกำหนดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานจะเป็นข้อปฏิบัติของพนักงานในองค์กร ”วินัย การลงโทษ”เป็นประเด็นที่มีผลทั้งทางบวกและลบต่อผู้บังคับบัญชาและพนักงาน หากมีการกระทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานมีการให้คุณให้โทษที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง (เบี่ยงเบนจากความเป็นจริง) ความเข้าใจในพฤติกรรมบุคคล พฤติกรรมองค์กร วินัยในการลงโทษถือเป็นการบริหารแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรที่สำคัญ
เพราะอาจมีผลกระทบต่อบรรยากาศและความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชาได้ เทคนิคในการลงโทษทางวินัยที่ควรต้องปฏิบัติจึงต้องได้รู้ และเข้าใจเพื่อให้การลงโทษทางวินัยมีการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมและผลเชิงบวกต่อทัศนคติของพนักงานต่อผู้บังคับบัญชาและองค์กร
ความสำคัญของข้อบังคับในการทำงาน
ความสำคัญของข้อบังคับในการทำงาน คือ การจัดทำกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน เป็นเหมือนกำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่พึงปฏิบัติต่อกัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงาน และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดขัดแย้งซึ่งกันละกัน
ทุกบริษัท “ต้องมี” ข้อบังคับการทำงาน หรือไม่ ?
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 108 กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้าง รวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มี “กฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน”
มีหลักเกณฑ์ในการจัดทำระเบียบข้อบังคับในการทำงาน
ต้องเป็นภาษาไทย
ต้องประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
ต้องจัดเก็บสำเนาข้อบังคับไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา
ต้องเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้รับทราบและดูได้โดยสะดวก
หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต้องประกาศภายใน 7 วันนับแต่วันที่ประกาศใช้ข้อบังคับฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานอย่างน้อยให้ครบ 8 ข้อตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต้องมีอะไรบ้าง ?
การลงโทษทางวินัยพนักงาน คือ การออกบทลงโทษในรูปแบบต่างๆ เมื่อพนักงานทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานขององค์กรที่ตั้งไว้ และได้ตกลงร่วมกันก่อนเริ่มงานแล้ว โดยตัวอย่างการลงโทษทางวินัย มีดังนี้
วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด
วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
วันลาและหลักเกณฑ์การลา
วินัยและโทษทางวินัย
การร้องทุกข์
การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
การลงโทษทางวินัยพนักงาน คืออะไร
การลงโทษทางวินัยพนักงาน คือ การออกบทลงโทษในรูปแบบต่างๆ เมื่อพนักงานทำผิดกฎหรือระเบียบการทำงานขององค์กรที่ตั้งไว้ และได้ตกลงร่วมกันก่อนเริ่มงานแล้ว โดยตัวอย่างการลงโทษทางวินัย มีดังนี้
ตักเตือนด้วยวาจาเฉยๆ หรือบอกปากเปล่า
ตักเตือนด้วยวาจาและลงบันทึกไว้
ตักเตือนเป็นหนังสือ เช่น ออกใบเตือน ออกหนังสือเตือน
พักงาน โดยไม่จ่ายค่าจ้าง 3 วัน 5 วัน 7 วัน หรือตามระเบียบบริษัท
เลิกจ้าง โดยจ่าย/ไม่จ่าย ค่าชดเชย
การลงโทษวินัยพนักงานตามกฎหมาย
การลงโทษทางวินัยพนักงาน ตามกฎหมาย ว่าอย่างไรบ้าง?
บทบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ไม่ได้กำหนดลักษณะของความผิดทางวินัยและประเภทของโทษทางวินัยไว้ว่าพักงานได้กี่วัน เตือนได้กี่ครั้ง เลิกจ้างได้ตอนไหน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนขึ้นได้
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 108 จึงกำหนดว่า นายจ้างหรือองค์กร ที่มีพนักงานมากกว่า 10 คนขึ้นไป จำเป็นต้องจัดทำกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานต่าง ๆ รวมถึงเรื่อง "วินัยและโทษทางวินัย" สำหรับองค์กรของตนขึ้น ซึ่งเมื่อบริษัทได้กำหนดข้อบังคับ ดังกล่าวขึ้นมาแล้ว ก็จำเป็นต้องยึดถือ และปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ตัวอย่าง การลงโทษทางวินัยพนักงาน ตามกฎหมาย
เช่น กำหนดไว้ว่า หากพนักงานจะลาพักร้อน จะต้องแจ้งล่วงหน้า 5 วัน ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะลงโทษทางวินัยพนักงาน ซึ่งจะเป็นตามลำดับนี้
ตักเตือนด้วยวาจา (3 ครั้ง)
ตักเตือนเป็นหนังสือ
เลิกจ้าง
สรุป
การจัดทำกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานในสถานที่ประกอบการ เป็นข้อกำหนดตามกฏหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งระเบียบข้อบังคับจะเป็นข้อปฎิบัติของพนักงานในองค์กร วินัยและการลงโทษเป็นประเด็นที่มีผลทั้งทางบวกและลบต่อผู้บังคับบัญชาพนักงาน หากมีการกระทำผิดมีการให้คุณให้โทษที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง เบี่ยงเบนจากความเป็นจริง ความเข้าใจในพฤติกรรมบุคคล พฤติกรรมองค์ &วินัยในการลงโทษถือเป็นการบริหารแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรที่สำคัญ เพราะอาจมีผลกระทบต่อบรรยากาศ&ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชาได้ เทคนิคในการลงโทษทางวินัยที่ต้องควรปฏิบัติจึงต้องได้รู้และเข้าใจเพื่อให้การลงโทษทางวินัยมีการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมและผลเชิงบวกต่อทัศนคติของพนักงานต่อผู้บังคับบัญชาและองค์กร
สถาบันฝึกอบรม ท๊อป โปรเฟสชั่นแนล แอนด์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด มีบริการคอร์สเรียนฝึกอบรมหลักสูตรระเบียบข้อบังคับในการทำงานและเทคนิคการลงโทษทางวินัยในเชิงบวก ซึ่งเหมาะสมกับ HR มือใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบุคคลและการพัฒนาบุคคลผู้ที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับในการทำงาน กฎระเบียบบริษัท การลงโทษทางวินัย กฎระเบียบข้อบังคับในการทํางาน กฎข้อบังคับบริษัท กฎหมายแรงงาน กฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยลักษณะของการอบรมสัมนาจะมีทั้งแบบ Inhouse Training และ Public Training มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ในการดูแลเรื่องระเบียบข้อบังคับในการทำงานและเทคนิคการลงโทษทางวินัยในเชิงบวก อีกทั้งยังมีบริการอบรมออนไลน์ฟรี หลักสูตรฟรี ทุกท่านที่สนใจสามารถเข้ามาอบรมฟรีได้ที่นี่
ที่มา : https://bit.ly/3wyLMgr , https://bit.ly/3irzAGf , https://bit.ly/3irzAGf , https://bit.ly/3IxcNDi
อบรม HR : https://www.hrodthai.com/
Comments