กฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานและผู้บริหารควรรู้
#กฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานและผู้บริหารควรรู้ #กฎหมายแรงงาน
กฎหมายแรงงานที่หัวหน้างานและผู้บริหารควรรู้
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยดี ได้รับประโยชน์ที่เหมาะสม

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ตอบประเด็นปัญหาด้านแรงงานที่ผู้บริหารควรรู้ พร้อมบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการที่มีผลกระทบด้านแรงงาน พร้อมทั้ง Update กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฉบับใหม่ 2562 ที่มีการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งอธิบายแนวทางแก้ไข ปรับปรุงระเบียบข้อบังคับที่มีผลกระทบกับการจ้างงานที่ถูกต้องตามกฎหมายใหม่ ซึ่งจะช่วยให้สามารถบริหารคนในองค์กรได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิผล
ทั้งนี้ ผู้บริหาร จะได้เรียนรู้การบริหารจัดการบุคลากร โดยเข้าใจบทบาทหน้าที่ ตามกฎหมายแรงงาน และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การลงโทษทางวินัย การลา ประเภทต่างๆ ที่เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อ พรบ.คุ้มครองแรงงาน และ พรบ.แรงงานสัมพันธ์
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

งานทั่วไป ไม่เกิน 8 ชั่วโมง /วัน หรือตามที่ตกลงกัน หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนงานทั่วไปที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ให้มีเวลาทำงานไม่เกิน 7 ชั่วโมง/วัน หรือไม่เกิน 42 ชั่วโมง/สัปดาห์
SEXUAL HARASSMENT “ล่วงเกินทางเพศ”
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ปี 2551 มาตรา 16 แก้ไขข้อบกพร่อง เดิมโดยบัญญัติใหม่ว่า “ห้ามมิให้นายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงานหรือผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกิน คุกคามหรือก่อความเดือดร้อน รำคาญทางเพศต่อลูกจ้าง”

SEXUAL HARASSMENT “ล่วงเกินทางเพศ”
คำว่า "ล่วงเกิน" หมายถึง แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณีหรือจรรยามารยาท ด้วยการลวนลาม (หมายถึงล่วงเกินในลักษณะชู้สาวด้วยการพูดหรือกระทำเกินสมควร เช่น พูดจาลวนลามถือโอกาสจับมือถือแขน) ดูหมิ่น (หมายถึงแสดงกริยาท่าทางฯเป็นเชิงดู ถูกว่าด้อยกว่าต่ำกว่า) สบประมาท เป็นต้น
คำว่า "คุกคาม" หมายถึง แสดงอำนาจด้วยกริยาหรือวาจาให้หวาดกลัวทำให้หวาดกลัว
คำว่า "รำคาญ" หมายถึง ระคายเคือง เบื่อ ทำให้เดือดร้อนเบื่อหน่าย
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้
หากลูกจ้าง ทำงานมายังไม่ถึง 120 วัน นายจ้าง จะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ได้
หากลูกจ้าง ทำงานมาแล้ว 120 วัน - 1 ปี นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้างการทำงาน 30 วัน ในอัตราสุดท้าย
หากลูกจ้าง ทำงานมาแล้ว 1 -3 ปี นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้างการทำงาน 90 วัน ในอัตราสุดท้าย
หากลูกจ้าง ทำงานมาแล้ว 3 -6 ปี นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้างการทำงาน 180 วัน ในอัตราสุดท้าย
หากลูกจ้าง ทำงานมาแล้ว 6 -10 ปี นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้างการทำงาน 240 วัน ในอัตราสุดท้าย
หากลูกจ้าง ทำงานมาแล้ว 10 -20 ปี นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้างการทำงาน 300 วัน ในอัตราสุดท้าย
หากลูกจ้าง ทำงานมาแล้ว 20 ปีขึ้นไป นายจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชย เท่ากับค่าจ้างการทำงาน 400 วัน ในอัตราสุดท้าย
นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้าง มี 2 กรณี คือ

นายจ้างสั่งพักงานลูกจ้างได้แค่ไหน
การพักงานมี 2 กรณีคือ
การพักงานระหว่างสอบสวน
การลงโทษโดยการพักงาน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในมาตรา 116 และ มาตรา 117 โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
นายจ้าง ได้มีคำสั่งพักงาน เป็นหนังสือระบุความผิด และกำหนดระยะเวลาพักงาน ซึ่งต้องไม่เกิน 7 วัน และ
นายจ้าง ได้แจ้งให้ลูกจ้างทราบ ก่อนการพักงานนั้นแล้ว
นายจ้าง ต้องจ่ายค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้างในระหว่างพักงาน ไม่น้อยกว่า 50% ของค่าจ้างปกติ
รายการที่ควรมีในหนังสือเตือน

รายการที่ควรมีในหนังสือเตือน
(1) วัน / เดือน / ปี
(2) สถานที่
(3) ข้อความแจ้ง เจาะจงตัวลูกจ้างที่ฝ่าฝืน
(4) ข้อเท็จจริงโดยย่อ
(5) ข้ออ้างที่ระบุว่าการกระทำนั้นฝ่าฝืนข้อใด / เรื่องใด
(6) ข้อความที่มีลักษณะเป็นการตักเตือน
(7) ลายมือชื่อผู้ออกหนังสือเตือน
ขั้นตอนการลงโทษทางวินัย
การลงโทษทางวินัยพนักงาน คือ การออกบทลงโทษในรูปแบบต่างๆ เมื่อพนักงานทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานขององค์กรที่ตั้งไว้ และได้ตกลงร่วมกันก่อนเริ่มงานแล้ว โดยตัวอย่างการลงโทษทางวินัย

การลงโทษโดยการพักงาน
การลงโทษลูกจ้างด้วยการพักงานนั้น ไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง

แต่ก็ต้องมีหลักเกณฑ์ เช่นเดียวกัน กับเกณฑ์การพักงาน ในระหว่างระหว่างสอบสวน คือ ต้องมีข้อบังคับกำหนดโทษพักงานไว้ด้วย ต้องกำหนดระยะเวลาการพักงาน และต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนการลงโทษ
Comments