การสรรหาและว่าจ้างบุคลากรอย่างไรให้คนตรงใจองค์กร
top of page

การสรรหาและว่าจ้างบุคลากรอย่างไรให้คนตรงใจองค์กร



การสรรหาและว่าจ้างบุคลากรอย่างไรให้คนตรงใจองค์กร


การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร ในปัจจุบันการสร้างการเรียนรู้ เพื่อการสรรหาพนักงานให้ตรงกับองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และสร้างศักยภาพในการสรรหาบุคลากรของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์แบบเดิมให้มีเทคนิคการคัดเลือกบุคลากรให้มีความทันสมัยมากขึ้น และเสริมสร้างกระบวนการ ซึ่งจะกระทำให้องค์การมั่นใจได้ว่ามีพนักงานในจำนวนที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ทักษะที่เหมาะสม เพื่อที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุ วัตถุประสงค์ขององค์การ งานในการสรรหาว่าจ้างและการคัดเลือกพนักงาน ต้องคำนึงถึงตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบและกำลังคนให้เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการขององค์กร เป็นขบวนการจูงใจบุคคลที่มีความสามารถและทัศนคติตรงกันสมัครเข้ามารับการคัดเลือกเพื่อเข้ามาเป็นมาพนักงานขององค์การในตำแหน่งที่ว่าง เป็นกระบวนการซึ่งจะกระทำให้องค์การมั่นใจได้ว่ามีพนักงานในจำนวนที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ทักษะที่เหมาะสม เพื่อที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ



กระบวนการสรรหาคัดเลือก (Recruit and Selection )

กระบวนการในการค้นหาบุคคลที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งที่องค์การต้องการจากแหล่งต่างๆ ให้สนใจสมัครเข้าร่วมงานกับองค์การ โดยผู้มีหน้าที่ในการสรรหาบุคลากรจะต้องสามารถเข้าถึงแหล่งที่มาของบุคลากร ดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพเหมาะสมกับงานให้เกิดความสนใจที่จะร่วมงานกับองค์การอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ข้อจำกัดของระยะเวลาและค่าใช้จ่าย



ประเภทของการสรรหาบุคลากร

ประเภทของการสรรหาบุคลากร สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

  1. การสรรหาบุคลากรภายในองค์กร (Internal Recruitment)

  2. การสรรหาบุคลากรภายนอกองค์กร (External Recruitment)


Job Description และ Competency

กับการสรรหาคัดเลือกบุคลากร

เตรียมตัวอ่าน ทำความเข้าใจ JD ของตำแหน่งงานที่จะสัมภาษณ์ เตรียมคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ (Structure Interview)

  • ควรใช้คำถามปลายเปิด

  • เรียงลำดับคำถาม ก่อนหลัง

  • ควบคุมเวลาในการสัมภาษณ์

  • รู้จักจับประเด็นสำคัญ และสรุปประเด็นได้

  • หลีกเลี่ยงการถาม - ตอบ ที่จะเกิดข่าวลือในองค์กร

องค์ประกอบหลักของการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของงาน (Job Specification) เรียกย่อว่า KASOC's ประกอบไปด้วย

  1. Knowledge ความรู้

  2. Abilities ความสามารถ

  3. Skills ทักษะ

  4. Other Characteristics องค์ประกอบอื่นๆ


ขั้นตอนที่จำเป็นและควรใส่ใจในการคัดสรรบุคลากร



  1. ชี้แจง Job Description ให้ละเอียด

  2. รอบสัมภาษณ์งานนั้นสำคัญอย่างยิ่ง

  3. เตรียมคำถามในการสัมภานณ์ให้ครบ มีตั้งเกณฑ์การคัดเลือกให้ชัดเจน

  4. การสัมภาษณ์คือช่วงเวลาที่จะรู้จักประสบการณ์ตลอดจนค่านิยมของผู้สมัคร

  5. แจ้งข้อมูลเรื่องการทำงานงานให้ชัดเจน

  6. ควรเผื่อตัวเลือกไว้สำหรับการตัดสินใจสุดท้ายด้วย

  7. ให้ข้อมูลพื้นฐานของบริษัทให้ครบถ้วน ชัดเจน

การแบ่งกลุ่มและประเภทของคำถาม

หมวดที่ 1 : สร้างความคุ้นเคยระหว่างกัน

หมวดที่ 2 : เจาะลึกเรื่องการทำงาน / ทักษะ / ความสามารถ

หมวดที่ 3 : คำถามเชิงจิตวิทยาและการทดสอบทัศนคติ

หมวดที่ 4 : การเจรจารายละเอียดงาน



กระบวนการสัมภาษณ์


กระบวนการสัมภาษณ์แบ่งเป็น 5 ขั้น คือ

1. การเตรียมการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ควรมีการเตรียมคำถามต่างๆ เอาไว้ก่อน

2. การสร้างสายสัมพันธ์ (Creation of rapport) จะทำให้สัมพันธภาพ ระหว่างผู้สัมภาษณ์ และผู้ถูกสัมภาษณ์มีความไว้ใจ

3. การแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (Information exchange) เพื่อสร้างบรรยากาศในการสัมภาษณ์บางครั้งผู้สัมภาษณ์ต้องการให้การสัมภาษณ์เป็นการสื่อสารสองทาง (two-way communication)

4. การยุติการสัมภาษณ์ (Termination) ผู้สัมภาษณ์จะเป็นฝ่ายยุติการสัมภาษณ์อาจบอกว่า เราคุยกันมาพอสมควร ผมขอถามคำถามสุดท้าย

5. การประเมินผล (Evaluation) หลังจากการสัมภาษณ์สิ้นสุดลง ผู้สัมภาษณ์ต้องบันทึกผลทันที


ปัจจัยที่ใช้พิจารณาคัดเลือกคนเข้าทำงาน

  • ลักษณะที่ปรากฏเห็นทั่วไป (Appearance)

  • บุคลิกภาพ (Personality)

  • ความรู้เกี่ยวกับงาน (Job Knowledge)

  • สติปัญญา (Intelligence)

  • แรงจูงใจ (Motivation)

  • ความเหมาะสมอื่น ๆ (Others)


ความสำเร็จในการสรรหาบุคลากร



การดำเนินการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน จะประสบผลตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ


1. ผู้สัมภาษณ์ (Interviewer) ผู้สัมภาษณ์ต้องมีความรู้ และมีทักษะในการสัมภาษณ์ และ

ต้องเข้าใจลักษณะงานและลักษณะของคนที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งงานที่ว่างด้วย


2. การวางแผนการสัมภาษณ์ (Planning of Interview) การวางแผนการสัมภาษณ์ที่รัดกุม

ช่วยให้ผู้สัมภาษณ์ได้เตรียมคำถามในการสัมภาษณ์และสามารถใช้เวลาในการสัมภาษณ์ได้อย่าง

เหมาะสม ไม่มีการถามซ้ำซ้อนระหว่างผู้สัมภาษณ์ด้วยกัน และช่วยให้สรุปผลการสัมภาษณ์ได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น


3. เทคนิคที่ใช้ในการสัมภาษณ์ (Interviewing Techniques) การใช้เทคนิคในการตั้งคำถาม

ระหว่างการสัมภาษณ์ การฟัง การจด การสังเกต อย่างถูกวิธี ช่วยให้การสัมภาษณ์ดำเนินไปได้ราบรื่นและได้ข้อมูลจากผู้สมัครครบถ้วน


4. สภาพแวดล้อมในการสัมภาษณ์ (Physical Circumstances) การจัดเตรียมสถานที่สัมภาษณ์ให้เหมาะสมเป็นที่เฉพาะไม่มีการรบวนช่วยสร้างความรู้สึกเป็นกันเอง และเป็นส่วนตัว(Private) ให้กับผู้สมัคร ทำให้การสัมภาษณ์ประสบผลสำเร็จที่ตั้งไว้


ความแตกต่างระหว่างแบบทดสอบ

Cognitive, Psychological & Practical Performance


ปัจจัยส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจ

  • ความประทับใจครั้งแรก

  • ความคาดหวัง

  • การพูด

  • ท่าทาง

  • การใช้เกณฑ์การประเมิน


ดู 1,044 ครั้ง
Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page