HOW TO เทคนิคการลงโทษทางวินัยในเชิงบวก ที่ HR ควรรู้
top of page

HOW TO เทคนิคการลงโทษทางวินัยในเชิงบวก ที่ HR ควรรู้

อัปเดตเมื่อ 29 มี.ค. 2565

#ระเบียบข้อบังคับในการทำงาน #กฎระเบียบบริษัท #การลงโทษทางวินัย #กฎระเบียบข้อบังคับในการทํางาน #กฎข้อบังคับบริษัท #กฎหมายแรงงาน #กฎหมายคุ้มครองแรงงาน #อบรมhr #ฝึกอบรมhr #คอร์สเรียนhr #หลักสูตรอบรมhrมือใหม่ #การพัฒนาบุคคล #อบรมสัมมนา #สถาบันฝึกอบรม #หลักสูตรอบรมผู้บริหาร #อบรมอินเฮาส์ #InhouseTraining #PublicTraining #อบรมออนไลน์ฟรี #อบรมฟร#HRTraining


การจัดทำกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน ที่สำคัญในสถานประกอบการ” เป็นข้อกำหนดตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานจะเป็นข้อปฏิบัติของพนักงานในองค์กร ”วินัย การลงโทษ”เป็นประเด็นที่มีผลทั้งทางบวกและลบต่อผู้บังคับบัญชาและพนักงาน หากมีการกระทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานมีการให้คุณให้โทษที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง (เบี่ยงเบนจากความเป็นจริง) ความเข้าใจในพฤติกรรมบุคคล พฤติกรรมองค์กร วินัยในการลงโทษถือเป็นการบริหารแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรที่สำคัญ

เพราะอาจมีผลกระทบต่อบรรยากาศและความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชาได้ เทคนิคในการลงโทษทางวินัยที่ควรต้องปฏิบัติจึงต้องได้รู้ และเข้าใจเพื่อให้การลงโทษทางวินัยมีการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมและผลเชิงบวกต่อทัศนคติของพนักงานต่อผู้บังคับบัญชาและองค์กร





ความสำคัญของข้อบังคับในการทำงาน

ความสำคัญของข้อบังคับในการทำงาน คือ การจัดทำกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน เป็นเหมือนกำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่พึงปฏิบัติต่อกัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงาน และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดขัดแย้งซึ่งกันละกัน






ทุกบริษัท “ต้องมี” ข้อบังคับการทำงาน หรือไม่ ?


พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 108 กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้าง รวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มี “กฎระเบียบข้อบังคับในการทำงาน




มีหลักเกณฑ์ในการจัดทำระเบียบข้อบังคับในการทำงาน


  1. ต้องเป็นภาษาไทย

  2. ต้องประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานภายใน 15 วันนับแต่วันที่นายจ้างมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป

  3. ต้องจัดเก็บสำเนาข้อบังคับไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างตลอดเวลา

  4. ต้องเผยแพร่และปิดประกาศข้อบังคับการทำงานโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้รับทราบและดูได้โดยสะดวก

  5. หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต้องประกาศภายใน 7 วันนับแต่วันที่ประกาศใช้ข้อบังคับฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม

  6. ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานอย่างน้อยให้ครบ 8 ข้อตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด


ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต้องมีอะไรบ้าง ?

การลงโทษทางวินัยพนักงาน คือ การออกบทลงโทษในรูปแบบต่างๆ เมื่อพนักงานทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานขององค์กรที่ตั้งไว้ และได้ตกลงร่วมกันก่อนเริ่มงานแล้ว โดยตัวอย่างการลงโทษทางวินัย มีดังนี้

  1. วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก

  2. วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด

  3. หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด

  4. วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด

  5. วันลาและหลักเกณฑ์การลา

  6. วินัยและโทษทางวินัย

  7. การร้องทุกข์

  8. การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ




การลงโทษทางวินัยพนักงาน คืออะไร


การลงโทษทางวินัยพนักงาน คือ การออกบทลงโทษในรูปแบบต่างๆ เมื่อพนักงานทำผิดกฎหรือระเบียบการทำงานขององค์กรที่ตั้งไว้ และได้ตกลงร่วมกันก่อนเริ่มงานแล้ว โดยตัวอย่างการลงโทษทางวินัย มีดังนี้

  1. ตักเตือนด้วยวาจาเฉยๆ หรือบอกปากเปล่า

  2. ตักเตือนด้วยวาจาและลงบันทึกไว้

  3. ตักเตือนเป็นหนังสือ เช่น ออกใบเตือน ออกหนังสือเตือน

  4. พักงาน โดยไม่จ่ายค่าจ้าง 3 วัน 5 วัน 7 วัน หรือตามระเบียบบริษัท

  5. เลิกจ้าง โดยจ่าย/ไม่จ่าย ค่าชดเชย


การลงโทษวินัยพนักงานตามกฎหมาย


การลงโทษทางวินัยพนักงาน ตามกฎหมาย ว่าอย่างไรบ้าง?


บทบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ไม่ได้กำหนดลักษณะของความผิดทางวินัยและประเภทของโทษทางวินัยไว้ว่าพักงานได้กี่วัน เตือนได้กี่ครั้ง เลิกจ้างได้ตอนไหน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนขึ้นได้

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 108 จึงกำหนดว่า นายจ้างหรือองค์กร ที่มีพนักงานมากกว่า 10 คนขึ้นไป จำเป็นต้องจัดทำกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานต่าง ๆ รวมถึงเรื่อง "วินัยและโทษทางวินัย" สำหรับองค์กรของตนขึ้น ซึ่งเมื่อบริษัทได้กำหนดข้อบังคับ ดังกล่าวขึ้นมาแล้ว ก็จำเป็นต้องยึดถือ และปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด


ตัวอย่าง การลงโทษทางวินัยพนักงาน ตามกฎหมาย

เช่น กำหนดไว้ว่า หากพนักงานจะลาพักร้อน จะต้องแจ้งล่วงหน้า 5 วัน ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะลงโทษทางวินัยพนักงาน ซึ่งจะเป็นตามลำดับนี้

  1. ตักเตือนด้วยวาจา (3 ครั้ง)

  2. ตักเตือนเป็นหนังสือ

  3. เลิกจ้าง




สรุป

การจัดทำกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานในสถานที่ประกอบการ เป็นข้อกำหนดตามกฏหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งระเบียบข้อบังคับจะเป็นข้อปฎิบัติของพนักงานในองค์กร วินัยและการลงโทษเป็นประเด็นที่มีผลทั้งทางบวกและลบต่อผู้บังคับบัญชาพนักงาน หากมีการกระทำผิดมีการให้คุณให้โทษที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง เบี่ยงเบนจากความเป็นจริง ความเข้าใจในพฤติกรรมบุคคล พฤติกรรมองค์ &วินัยในการลงโทษถือเป็นการบริหารแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรที่สำคัญ เพราะอาจมีผลกระทบต่อบรรยากาศ&ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชาได้ เทคนิคในการลงโทษทางวินัยที่ต้องควรปฏิบัติจึงต้องได้รู้และเข้าใจเพื่อให้การลงโทษทางวินัยมีการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมและผลเชิงบวกต่อทัศนคติของพนักงานต่อผู้บังคับบัญชาและองค์กร


สถาบันฝึกอบรม ท๊อป โปรเฟสชั่นแนล แอนด์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด มีบริการคอร์สเรียนฝึกอบรมหลักสูตรระเบียบข้อบังคับในการทำงานและเทคนิคการลงโทษทางวินัยในเชิงบวก ซึ่งเหมาะสมกับ HR มือใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบุคคลและการพัฒนาบุคคลผู้ที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับในการทำงาน กฎระเบียบบริษัท การลงโทษทางวินัย กฎระเบียบข้อบังคับในการทํางาน กฎข้อบังคับบริษัท กฎหมายแรงงาน กฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยลักษณะของการอบรมสัมนาจะมีทั้งแบบ Inhouse Training และ Public Training มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ในการดูแลเรื่องระเบียบข้อบังคับในการทำงานและเทคนิคการลงโทษทางวินัยในเชิงบวก อีกทั้งยังมีบริการอบรมออนไลน์ฟรี หลักสูตรฟรี ทุกท่านที่สนใจสามารถเข้ามาอบรมฟรีได้ที่นี่

 

อบรม HR : https://www.hrodthai.com/

ดู 9,003 ครั้ง
Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page