9 ทักษะสําหรับการก้าวสู่หัวหน้างานมืออาชีพ
top of page

9 ทักษะสําหรับการก้าวสู่หัวหน้างานมืออาชีพ

อัปเดตเมื่อ 24 ส.ค. 2566

#9ทักษะสําหรับการก้าวสู่หัวหน้างานมืออาชีพ #ทักษะสําหรับการก้าวสู่หัวหน้างานมืออาชีพ #ทักษะหัวหน้างาน

9 ทักษะการเป็นหัวหน้างาน (Supervisor) คือ ตำแหน่งงานที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้าไป เพราะหัวหน้างานเป็นผู้นำนโยบายจากแผนหลักขององค์กร (Master Plan) ขับเคลื่อนสู่แผนปฏิบัติงาน (Action Plan) กล่าวได้ว่าเป็นผู้ประสานระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ดังนั้น ผู้เข้าอบรมจะได้นำความรู้เกี่ยวกับ 9 ทักษะ


9 ทักษะ ที่จะก้าวการเป็นหัวหน้างาน จึงต้องมีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ในการทำหน้าที่หรือบทบาทของตนเอง หลักสูตร 9 ทักษะ สําหรับการก้าวสู่หัวหน้างานมืออาชีพจึงเป็นหลักสูตรสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมความรู้และทักษะของหัวหน้างาน เพื่อก้าวสู่ความเป็นหัวหน้างานมืออาชีพ ในการพัฒนาเป็นองค์กรแบบยั่งยืนอย่างมั่นคงต่อไป


หน้าที่ของผู้นำเมื่อได้รับตำแหน่งหัวหน้างาน

  1. บริหารพัฒนาฝึกฝนตนเองด้านภาวะผู้นำ

  2. พัฒนาบุคลิกภาพตนเองเพื่อการบริหาร

  3. ต้องพัฒนาทักษะการบริหารงานและคน เพื่อทำให้ทีมงานเชื่อถือ เชื่อมือ เชื่อใจ

  4. ปรับตนเอง พัฒนาเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้พร้อมที่จะก้าวสู่ตำแหน่งหัวหน้า


10 คุณสมบัติหัวหน้างานที่มีประสิทธิภาพ

10 คุณสมบัติหัวหน้างานที่มีประสิทธิภาพ

  1. มีความเผ็นผู้นำ

  2. มีเป้าหมายชัดเจน

  3. มีศิลปะการเจรจา

  4. ซื่อสัตย์

  5. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

  6. รู้จักใช้คน

  7. ตัดสินใจเด็ดขาด

  8. รับฟังความคิดเห็นลูกน้อง

  9. บุคลิกภาพดี

  10. สนับสนุนลูกน้อง


ระดับของผู้นำ




  • ระดับที่ 1 ผู้นำตามตำแหน่งหน้าที่ Leader is action not position

  • ระดับที่ 2 ผู้นำโดยสร้างสัมพันธภาพที่ดี Focus from Me to We

  • ระดับที่ 3 ผู้นำโดยการสร้างผลงาน มีวิสัยทัศน์ชัดเจนกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้กับลูกน้อง

  • ระดับที่ 4 ผู้นำโดยการพัฒนาผู้ตาม มองเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนลูกน้อง

  • ระดับที่ 5 ผู้นำโดยสมบูรณ์ เป็นคนสร้างผู้นำคนใหม่และวางรากฐานที่ดีให้กับองค์กร



วงจรการบริหาร (Management Cycle)


PDCA คือวงจรบริหารสี่ขั้นตอนที่ประกอบไปด้วย Plan (การวางแผน) Do (ปฏิบัติ) Check (ตรวจสอบ) และ Action (การดำเนินการ)วงจรการบริหารงานคุณภาพใช้ในการควบคุมและพัฒนากระบวนการหรือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง PDCA ทั้งสี่ขั้นตอนเป็นกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารความเปลี่ยนแปลงได้อย่างประสบความสำเร็จ


โดยที่ขั้นตอนของ PDCA มีดังนี้


(P) Plan – การวางแผน: หมายถึงการตั้งเป้าหมายจากปัญหาหรือโอกาสต่างๆ และสร้างแผนการทำงานหรือกระบวนการเพื่อทำให้เป้าหมายนี้ประสบความสำเร็จ


(D) Do – ปฏิบัติ/การทดสอบ: หมายถึงขั้นตอนการทดสอบ เป็นการลงมือทำและเก็บข้อมูลเพื่อหาจุดอ่อนหรือจุดที่สามารถพัฒนามากขึ้นได้ รวมถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆด้วย


(C) Check – การตรวจสอบ: หมายถึงขั้นตอนการตรวจสอบ เป็นขั้นตอนหาช่องทางและวิธีพัฒนากระบวนการต่างๆให้เร็วขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของโอกาสและอุปกรรคต่างๆในกระบวนการ


(A) Action – การดำเนินการ/ปรับปรุงแก้ไข: หมายถึงการดำเนินการเพื่อปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้กระบวนการขั้นตอนต่างๆเร็วขึ้น ดีขึ้น หรือมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเดิม


ซึ่ง PDCA ก็เป็นขั้นตอนที่ถูกออกแบบมาให้ทำซ้ำได้ หมายความว่าหากเราได้มีการทำครบสี่ขั้นตอนแล้ว (วางแผน ไปสู่การทำ ไปสู่การตรวจสอบ และจบที่การปรับปรุง) ในกรณีนี้เราก็ควรทำการ ‘เริ่มใหม่’ เพื่อหาจุดอื่นในกระบวนการเพื่อพัฒนาเพิ่มเติม หรืออาจจะหาเป้าหมายใหม่ที่อยากบรรลุให้ได้ จองอบรม 9 ทักษะสําหรับการก้าวสู่หัวหน้างานมืออาชีพ โปรโมชั่นพิเศษ ซื้อ 1 แถม 1 ราคาเพียง 3,500 สมาชิกจ่ายเพียง 3,000 บาท


เป้าหมายต้อง (SMART)

SMART goal คืออะไร?


SMART goal คือ framework หรือกรอบอ้างอิงที่ใช้เพื่อตั้งเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยในการตั้งเป้าหมายด้วย SMART goal ไม่ใช่การตั้งเป้าหมายอย่างลอยๆ แต่จะต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้ด้วย


S - Specific หมายถึง เป็นสิ่งที่ชี้เฉพาะ และมีขอบเขตที่แน่ชัด

M - Measurable หมายถึง สามารถวัดได้ มีหลักฐาน หรือการอ้างอิงได้

A - Achievable หมายถึง เป็นไปได้ สมเหตุสมผล ภายใต้ระยะเวลาและทรัพยากร

R - Relevant หมายถึง สอดคล้องกับเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่ต้องการในระยะยาว

T - Time-based หมายถึง มีระยะเวลาที่จำกัด


ความต้องการพื้นฐานของคน

5 ขั้น Maslow Needs

ทฤษฎีมาสโลว์ หรือ ลำดับขั้นความต้องการ (Maslow’s Hierarchy of Needs) เป็นทฤษฎีจิตวิทยาที่ อับราฮัม เอช. มาสโลว์ คิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1943 ในเอกสารชื่อ “A Theory of Human Motivation” Maslow ระบุว่า มนุษย์มีความต้องการทั้งหมด 5 ขั้นด้วยกัน ความต้องการทั้ง 5 ขั้น มีเรียงลำดับจากขั้นต่ำสุดไปหาสูงสุด อบรม9ทักษะ เพื่อเรียนรู้ความต้องการพื้นฐานของคน สมัครเลย มนุษย์จะมีความต้องการในขั้นต่ำสุดก่อน เมื่อได้รับการตอบสนองจนพอใจแล้วก็จะเกิดความต้องการขั้นสูงต่อไป ความต้องการของบุคคลจะเกิดขึ้น 5 ขั้นเป็นลำดับ ดังนี้


ขั้นที่ 1 ต้องการปัจจัย 4

ขั้นที่ 2 ต้องการความมั่นคงปลอดภัย

ขั้นที่ 3 ต้องการการยอมรับจากสังคม

ขั้นที่ 4 ต้องการที่จะได้รับยกย่อง

ขั้นที่ 5 ต้องการที่ได้รับความสำเร็จ

ดู 2,173 ครั้ง
Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page