“การพัฒนาภาวะผู้นำ” (Leadership Development)
top of page

“การพัฒนาภาวะผู้นำ” (Leadership Development)

#การพัฒนาภาวะผู้นำ #Leadership #Development #ผู้นำ #ภาวะผู้นำ


“การพัฒนาภาวะผู้นำ” (Leadership Development)

"ภาวะผู้นำ" องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินงานได้นั้น ปัจจัยสำคัญที่สุด คือ ความร่วมมือจากทุกส่วนงาน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร การทำงานเป็นทีม (Teamwork) ได้นั้น ผู้นำต้องใช้ทักษะและกระบวนการในการสื่อสาร การถ่ายทอดข้อมูล แนวคิด เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน เกิดการประสานงานงานที่ดี ตลอดจนสามารถสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกันและผู้นำสามารถนำทีมให้การทำงานเกิดประสิทธิผลในการทำงาน สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันถือเป็นแนวปฏิบัติเพื่อสู่ความสำเร็จขององค์กรได้อย่างยั่งยืน



ผู้นำมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ

ผู้นำมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ

  • ผู้นำต้อง วางแผน

  • ผู้นำต้อง สั่งการ

  • ผู้นำต้อง ดูแล และควบคุม

ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ทำงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ


ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการ

ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการ

ผู้จัดการ คือ บุคคลที่สนใจจะหาวิธีการทำให้งานที่ได้รับมอบให้สำเร็จ โดยไม่ได้ให้ความสนใจสิ่งอื่นใด


ผู้นำ คือ ผู้ที่จะต้องพิจารณาความถูกต้องของงานรวมทั้งผลกระทบต่อบุคลากรและองค์การ ก่อนที่จะดำเนินการให้เกิดผลดีที่สุด


ความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกัน เช่น

  1. แรงจูงใจ

  2. ความเป็นมา

  3. วิธีคิด

  4. การปฏิบัติงาน


เกณฑ์ (Criteria) ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพผู้นำ

เกณฑ์ (Criteria) ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพผู้นำ แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ

  1. ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (Outcome)

  2. ทัศนคติของผู้ตาม (Attitude of Followers)

  3. คุณภาพของกระบวนการกลุ่ม (Quality of Group Process)


1. ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (Outcome)

คือ ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม เนื่องจากความสามารถ ในการนำ หรือภายใต้การนำของผู้นำ เช่น

  1. ผลสำเร็จของการปฏิบัติงานของกลุ่ม

  2. ความสามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

  3. การอยู่รอดของกลุ่ม

  4. ความก้าวหน้าของกลุ่ม

  5. ความพร้อมของกลุ่ม

  6. ความสามารถในการแก้ปัญหาของกลุ่ม

  7. ความพึงพอใจของสมาชิกของกลุ่มที่มีต่อผู้นำ และฐานะที่ ได้รับการยอมรับไม่เปลี่ยนแปลงของผู้นำ

  8. ผลสำเร็จขององค์กร เช่น ผลกำไร ที่เพิ่มขึ้น ยอดขายที่เพิ่มขึ้น ส่วนแบ่งของตลาดมากขึ้น เงินหมุนเวียนลงทุนมากขึ้น


2. ทัศนคติของผู้ตาม (Attitude of Followers)

ทัศนคติของผู้ตาม หรือ ผู้ใต้บังคับบัญชา ที่มีต่อผู้นำ นิยมใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินประสิทธิภาพของผู้นำ จะทราบ โดยใช้ แบบสอบถามหรือ การสัมภาษณ์ผู้ตาม ดังตัวอย่างคำถามต่อไปนี้

  • ผู้นำสามารถตอบสนองความต้องการและคาดหวังของผู้ตามได้ดีเพียงใด

  • ผู้ตามชอบ ยกย่องและยอมรับผู้นำเพียงใด

  • ผู้ตามมีความยินดีในการปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือคำขอร้องของผู้นำแค่ไหน

  • ผู้ตามต่อต้าน เพิกเฉย ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำขอร้องของผู้นำหรือไม่

(อาจพิจารณาจากจำนวน คำร้องทุกข์ และ บัตรสนเท่ห์ต่าง ๆ ส่งถึงผู้นำ ในระดับสูงกว่า รวมทั้งการขอย้าย การขาดงาน การเฉื่อยงาน และอัตราการหยุดงาน)


3. คุณภาพของกระบวนการกลุ่ม (Quality of Group Process)

เป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้นำ โดยประเมินจากความสนับสนุนด้านต่าง ๆ และ ความตั้งใจที่จะทำให้คุณภาพของกระบวนการกลุ่มของลูกน้องมีคุณภาพดีขึ้นในด้านความ สามัคคีความร่วมมือ แรงจูงใจการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การแก้ไขความขัดแย้ง ประสิทธิภาพ ของงานเฉพาะด้านกิจกรรมขององค์กร การมีทรัพยากรอย่างพอเพียง และความพร้อมของกลุ่มที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง และเหตุการณ์วิกฤตต่าง ๆ รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของการทำงาน การสร้างความมั่นใจให้สมาชิก การเพิ่มพูนทักษะในงาน และการพัฒนาสุขภาพจิตของสมาชิกให้ดีขึ้น


วิธีการการศึกษาภาวะผู้นำ

วิธีการการศึกษาภาวะผู้นำ สรุปแนวทางการศึกษาภาวะผู้นำของงานวิจัยได้เป็น 4 แนวทาง

ดังต่อไปนี้คือ

  1. ศึกษาอำนาจ-อิทธิพล (Power-Influence Approach) ของผู้นำ

  2. ศึกษาคุณลักษณะ (Trait Approach) ของผู้นำ

  3. ศึกษาพฤติกรรม (Behavior Approach) ของผู้นำ

  4. ศึกษาสถานการณ์ (Situational Approach) ของผู้นำ


ภาวะการเป็นผู้นำ 4 แบบ

  • ภาวะการเป็นผู้นำแบบชี้นำ (directive leadership)

  • ภาวะการเป็นผู้นำแบบสนับสนุน (supportive leadership)

  • ภาวะการเป็นผู้นำแบบมีส่วนร่วม (participative leadership)

  • ภาวะการเป็นผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ (achievement-oriented leadership)


ลักษณะของผู้บังคับบัญชาแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ



ตารางพฤติกรรมการบริหาร

Robert R. Blake & Jane S. Mouton



ดู 7,489 ครั้ง
Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page