การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ Total Quality Management :TQM
top of page

การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ Total Quality Management :TQM

#การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ #tqm


การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ Total Quality Management : TQM

สภาพการดำเนินธุรกิจที่แข่งขันในปัจจุบัน ผู้บริหารองค์การต่างให้ความสำคัญ ในการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์การ การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ TQM เป็นหลักการบริหาร ที่มีความหมายบูรณาการเข้ากับทุกส่วนขององค์การ เพื่อแก้ปัญหา สร้างคุณค่าเพิ่ม การควบคุมต้นทุน การปรับโครงสร้างองค์การ และมีคุณประโยชน์ต่อองค์การอย่างมหาศาล การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ TQM เป็นทางเลือก และแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อช่วยให้ธุรกิจได้เปรียบในการแข่งขัน และก้าวไปข้างหน้า การบริหารเชิงคุณภาพโดยรวม เป็นการจัดระบบ และวินัยในการทำงานเพื่อป้องกันความผิดพลาดเสียหาย และมุ่งสร้างคุณค่าในกระบวนการทำงานทุก ๆ ขั้นตอน โดยที่ทุกคนในองค์การต้องมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้เป็นปัจจัยสำคัญ ในการก้าวไปสู่ความเป็นเลิศ ทั้งในด้านการบริหารองค์การ การบริหารการผลิต การบริหารการตลาด การบริหารลูกค้า การบริหารบุคคล และการบริหารการเงิน เป็นต้น


Total Quality Management : TQM

  • T = TOTAL (ทั้งหมดทุกคน/เบ็ดเสร็จ) ทุกคนที่เกี่ยวข้องในองค์กร (อาจรวมถึงลูกค้า และผู้ส่งมอบด้วย)

  • Q = QUALITY (คุณภาพ) การทำได้ตรงความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง

  • M = MANAGEMENT (ฝ่ายบริหาร) ผู้บริหารระดับสูงยึดมั่นผูกพันอย่างแท้จริง


ความหมายของ TQM

คุณภาพ (QUALITY)

การทำได้ตามข้อกำหนดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

  • ทำให้ลูกค้าพอใจ

  • ทำให้ลูกค้าสุขใจ

  • ทำให้มากกว่าที่ลูกค้าพอใจ เกินความคาดหวังของลูกค้า


TQM มี หลักการที่สำคัญ 3 ประการ

TQM มี หลักการที่สำคัญ 3 ประการ

  1. การมุ่งเน้นที่คุณภาพ

  2. การปรับปรุงกระบวนการ

  3. ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม


วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TOM

  • เพื่อสร้างความพึงพอใจ ให้กับลูกค้า ภายใน/ภายนอก

  • เพื่อพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน

  • เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้สภาวะการแข่งขันที่รุนแรง

  • เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน

  • เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

  • เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม



วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของ TQM

คือ การพัฒนาบุคลากร ให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยการมีส่วนร่วมใน การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ อันจะทำให้คุณภาพชีวิต ของพนักงานทุกคนดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง

ผลที่ได้รับจาก TQM

ทำให้การดำเนินงานขององค์กรสูงขึ้น โดย

  • สินค้าหรือบริการมีคุณภาพสูงขึ้น

  • ของเสียเป็นศูนย์

  • กำจัดของเสีย

  • ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้น่าสนใจมากขึ้น

  • บริการหรือส่งของได้เร็วขึ้น

  • ลดต้นทุนด้านการผลิต

  • พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม


ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success factor : KSF ของระบบ TQM )

  1. ความยึดมั่นผูกพันอย่างจริงจังจากผู้บริหารทุกระดับ

  2. การให้การศึกษา และการฝึกอบรม ให้พนักงานทุกคนได้เรียนรู้

  3. โครงสร้างขององค์กรที่สนับสุนนวิธีคิด และวิธีทำงานอย่างเป็นกระบวนการ

  4. การติดต่อสื่อสารจะต้องทั่วถึงทั้งแนวดิ่งตามสายงาน และแนวราบของการประสานงานระหว่าง

  5. หน่วยงานต่างๆ

  6. การให้รางวัล และการยอมรับทีมงาน สมควรได้รับจากผลงานที่ปรากฏการส่งเสริม

  7. การวัดผลงานอย่างเหมาะสม

  8. การทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ


กระบวนการปรับปรุงคุณภาพ


ทำอย่างไรไม่ให้ TQM ล้มเหลว


ทำอย่างไรไม่ให้ TQM ล้มเหลว

  • การให้ความรู้ด้านการบริหารคุณภาพอย่างทั่วถึง

  • การตั้งเป้าหมายชัดเจน

  • การเสริมทักษะใหม่ ๆ

  • การวางแผนที่ดี

  • การเผยแพร่ และให้การศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมคุณภาพ

  • การเติมสีสันให้กับกิจกรรม

  • การทบทวนแผนการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ

  • การสรรหาคนเข้าร่วมในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพ

  • การสรรหาหัวข้อในการปรับปรุงคุณภาพ

ดู 9,639 ครั้ง
Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page