top of page

HR มือใหม่กับแรงงานสัมพันธ์

อัปเดตเมื่อ 19 ธ.ค. 2565

#การแรงงานสัมพันธ์ #คณะกรรมการลูกจ้าง #แรงงานสัมพันธ์ในองค์กร #hrมือใหม่

#แนวทางการบริหารแรงงานสัมพันธ์ในองค์กร #กิจกรรมแรงงานสัมพันธ์ในองค์กร #อบรมhr #ฝึกอบรมhr #คอร์สเรียนhr #หลักสูตรอบรมhrมือใหม่ #การพัฒนาบุคคล #อบรมสัมมนา #สถาบันฝึกอบรม #หลักสูตรอบรมผู้บริหาร #อบรมอินเฮาส์ #InhouseTraining #PublicTraining #อบรมออนไลน์ฟรี #อบรมฟร#HRTraining


การแรงงานสัมพันธ์ อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือสหภาพแรงงาน ทั้งสองฝ่ายจะต้องปรับตัวเข้าหากัน โดยอยู่บนพื้นฐานของคำว่า “การเป็นผู้ให้และการเป็นผู้รับ” กล่าว คือ นายจ้างจะต้องเป็นผู้ให้ในสิ่งที่ลูกจ้างต้องการอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ขณะเดียวกันลูกจ้างก็จะต้องเป็นผู้ให้ผลงาน หรือการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพและคุณภาพกับฝ่ายนายจ้าง เพื่อเป็นการตอบแทนเช่นกัน



HR มือใหม่ ควรจะได้ศึกษาพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการขั้นตอนของระบบการแรงงานสัมพันธ์





แรงงานสัมพันธ์ คืออะไร ?

แรงงานสัมพันธ์ คือ การแรงงานสัมพันธ์ในองค์กร หมายถึง ความเกี่ยวข้องและการปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคลสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายบริหารกับฝ่ายลูกจ้าง หรือฝ่ายพนักงาน และรวมถึงความสัมพันธ์ฝ่ายที่สาม คือ รัฐที่เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการแรงงานสัมพันธ์ ในองค์กรที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง การวางมาตรฐานในการจ้างงาน การพัฒนาบุคคล การใช้แรงงาน การระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นให้ยุติโดยเร็วและด้วยความพอใจทั้งสองฝ่ายมากที่สุด


องค์กรฝ่ายลูกจ้าง แบ่งเป็นสหภาพแรงงาน กลุ่มของลูกจ้างไม่น้อยกว่า 10 คนของนายจ้างคนเดียว หรือเป็นลูกจ้างที่ทำงานในกิจการเดียวกัน ยื่นคำขอจนทะเบียนเป็นสหภาพ


สหพันธ์แรงงาน เป็นการรวมตัวของสหภาพ 2 สหภาพขึ้นไปไม่ ว่าจะเป็นลูกจ้างในงานประเภทเดียวกันหรือต่างกัน


สภาองค์กรลูกจ้าง เป็นการรวมตัวของสหภาพ หรือสหพันธ์ไม่น้อยกว่า 15 แห่ง


คณะกรรมการลูกจ้าง ตั้งขึ้นในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป



แรงงานสัมพันธ์

แรงงานสัมพันธ์ จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ..


แรงงานสัมพันธ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ


1. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน อันได้แก่ ฝ่ายนายจ้าง ฝ้ายลูกจ้างและฝ่ายรัฐ

2. กฎเกณฑ์และกระบวนการควบคุมการทำงานการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการทำงาน

3. ความขัดแย้งที่สืบเนื่องจากการควบคุมการทำงานและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการทำงาน

4. บทบาทของรัฐบาลในการส่งเสริมความร่วมมือและระงับข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง



ประโยชน์แรงงานสัมพันธ์

แรงงานสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่เมื่อกระทำการแรงงานสัมพันธ์แล้วจะมีประโยชน์ต่อนายจ้าง ดังนี้


1. สามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพช่วยให้กิจการมีผลกำไรและเจริญก้าวหน้า

2. ไม่ต้องเสียเวลา เสียเงิน เสียดวามรู้สึก เสียหน้า เนื่องจากเกิดข้อขัดแย้ง ข้อร้องทุกข์ หรือคดีแรงงาน

3. สามารกรักษาระเบียบวินัย ความสงบเรียบร้อยในสถานประกอบการ



สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติตัว เพื่อให้เกิดการแรงงานสัมพันธ์ที่ดี

  • มีระบบการบริหารงานบุคคลและการพัฒนาบุคคลที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ

  • มีความรู้กฎหมายแรงงาน และปฏิบัติให้ถูกต้อง

  • ผู้จัดการ หัวหน้างานทุกระดับ จะต้องมีความรู้ด้านแรงงาน

  • มีการสื่อข้อความที่ดี ทั่วถึงและขัดแจ้งเพื่อป้องกันข้อขัดแย้ง

  • จัดให้มีการฝึกอบรมตามการพัฒนาบุคคลความเหมาะสม

  • มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและมีความจริงใจต่อลูกจ้าง

  • มีระบบร้องทุกข์ที่มีประสิทธิภาพ

  • จัดทำข้อบังคับให้เหมาะสม และตวบคุมให้มีการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม

  • ดำเนินการให้ลูกจ้างเกิดความรู้สึกมั่นดงก้าวหน้าและมีความปลอดภัยในการท่างาน




ประโยชน์ด้านแรงงานสัมพันธ์ต่อลูกจ้าง

1. มีขวัญกำลังใจ และความพึงพอใจในงาน

2. ได้รับการปรับปรุงค่าจ้าง สวัสดิการ สภาพการทำงาน ช่วยให้คุณภาพชีวิตการทำงานดีขึ้น

3. มีโอกาสแสดงความคิดริเริ่ม และความสามารถในการทำงาน เพื่อพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าในอาชีพการงานยิ่งขึ้น

4. มีความมั่นคงในการทำงาน




ลักษณะแรงงานสัมพันธ์


ลักษณะแรงงานสัมพันธ์ที่ดี

การที่นายจ้าง ฝ่ายจัดการและลูกจ้างมีทัศนคติ ความรู้สึกที่ดีเข้าใจเหตุผลและการดำเนินการของอีกฝ่ายหนึ่ง และมีความไว้วางใจต่อกัน ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของความร่วมมือ ในการทำงานร่วมกัน หากมีข้อขัดแย้งหรือการแสดงข้อเรียกร้องของฝ่ายลูกจ้างเพื่อให้นายจ้างหรือฝ่ายจัดการสอนงความต้องการ ก็มีกระบวนการในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งหรือความต้องการให้สามารถคลี่คลายหรือยุติลงได้ด้วยความเข้าใจหรือเป็นที่ยอมรับกันได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะการแรงงานสัมพันธ์ที่ดี



ลักษณะแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่ดี

คือลักษณะในเชิงพฤติกรรมหรือการกระทำที่เกิดขึ้นในองค์การ เช่น การที่ฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างมีทัศนคติในทางลบต่อกันและไม่มีวิธีการที่จะคลี่คลายแก้ไขปัญหา การไม่สนองตอบต่อความต้องการหรือข้อเรียกร้องของอีกฝ่ายหนึ่ง กลายเป็นความขัดแย้ง ความไม่ร่วมมือ และเกิดการรังเกียจต่อกัน นอกจากนี้ปัญหาทางด้านการแรงงานสัมพันธ์ อาจจะมีที่มีมาจาก การปฎิบัติที่ไม่เป็นธรรม การมีอคติ ลำเอียง การให้ข้อมูลเท็จหรือปิดบังข้อมูล การกลั่นแกล้งหรือ การบีบบังคับทางด้านจิตใจหรือทางกาย จนทำให้อีกฝ่ายไม่อาจจะทนทำงานต่อไปได้ การดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้กลายเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายจัดการกับพนักงาน การแสดงออกที่สื่อถึงปัญหาดังกล่าว ได้แก่


1. พนักงานไม่พอใจผู้บริหาร หรือหัวหน้างาน มีทัศนคติที่ไม่ดี เกิดการต่อต้าน ไม่เห็นด้วยในนโยบาย ซึ่งจะเป็นที่มาของความไม่ร่วมมือ

2. การตำหนิ ด่าว่า วิจารณ์บริษัท ผู้บริหารให้เกิดความเสียหาย

3. การใช้มาตรการบีบบังคับ เมื่อได้ยื่นข้อเรียกร้องให้ฝ่ายนายจ้างดำเนินการ แต่นายจ้างไม่ดำเนินการตามที่ต้องการ จึงเกิดการประท้วง ทำให้งานเสียหาย

4. ปัญหาข่าวลือ ข่าวที่ไม่เป็นความจริง ซึ่งทำให้พนักงานเข้าใจผิด หวาดระแวง หวาดกลัว



แนวทางแรงงานสัมพันธ์


1. เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชา พูดระบายความรู้สึกข้อขัดข้องใจ

2. ชมเชยเมื่อผลทำงานสำเร็จและให้กำลังเมื่อผิดพลาด

3. มอบหมายงานให้เหมาะสมกับคน

4. ไม่สนิทสนมกับกลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นพิเศษ

5. ให้ความยุติธรรมกับทุกคน

6. ความมั่นคงในการปฏิบัติงาน

7. การเลื่อนตำแหน่งเท่าเทียมกันตามความรู้ ความสามารถ




สรุป

HR มือใหม่ นอกจากศึกษางานวิชาการด้านกฎหมายแล้ว ควรต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ประสานงานแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นข้างต้น รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่องค์กรหรือ HRจัดให้มี อันเป็นการเสริมสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่าย เช่น กิจกรรมกีฬา งานเลี้ยงสังสรรค์ ทำบุญ ทอดกฐิน ผ้าป่า โครงการจิตอาสาช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น เพื่อช่วยผลักดันให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจและเติบโตก้าวหน้าได้


การแรงงานสัมพันธ์ในองค์กร ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างการทำงาน ระดับบังคับบัญชาและพนักงานผู้ปฏิบัติ ซึ่งส่งผลต่อองค์กรในทางบวกและลบ การแรงงานสัมพันธ์จึงเป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจของบุคคลกับองค์กร และบุคคลต่อบุคคล ที่อาจมีผลต่องานได้ ความเข้าใจในบทบาท HR ของ HR หรือผู้บังคับบัญชาในการส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ในองค์กรหรือหน่วยงาน และบุคคลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อองค์กรโดยรวม


 

อบรม HR : https://www.hrodthai.com/

ดู 18,175 ครั้ง

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page