สรุป พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2566
อัปเดตเมื่อ 11 เม.ย. 2566
สาระสำคัญ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2566
สาระสำคัญ : ให้นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้างนำงานในทางการที่จ้างที่ลูกจ้างสามารถปฏิบัติงานนอกสถานประกอบการหรือนอกสำนักงานของนายจ้าง ไปทำที่บ้านหรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือตกลงให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ ได้
ประโยชน์ของ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2566
เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทำงานของลูกจ้าง และ
เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้าง
มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาจราจร
ลดการใช้พลังงานและเชื้อเพลิง
สิ่งที่นายจ้างต้องจัดทำ : นายจ้างจัดทำเป็นหนังสือหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ที่สามารถเข้าถึง และนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง โดยอาจตกลงให้มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ช่วงระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการตกลง
วัน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก และการทำงานล่วงเวลา
หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุด รวมทั้งการลาประเภทต่าง ๆ
ขอบเขตหน้าที่การทำงานของลูกจ้างและการควบคุม หรือกำกับการทำงานของนายจ้าง
ภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือ หรืออุปกรณ์การทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็น อันเนื่องจากการทำงาน
หลักการตัดขาดการเชื่อมต่อกับนายจ้าง
เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานปกติตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือสิ้นสุดการทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อสื่อสาร
ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อสื่อสารกับใครบ้าง
นายจ้าง
หัวหน้างาน
ผู้ควบคุมงาน
หรือผู้ตรวจงาน
*ยกเว้น ลูกจ้างได้ให้ความยินยอมโดยทำหนังสือไว้ล่วงหน้า
ลูกจ้างซึ่งทำงานที่บ้าน หรือที่พักอาศัย หรือทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ มีสิทธิและอยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานต่าง ๆ เช่นเดียวกับลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการหรือสำนักงานของนายจ้างด้วย
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2566 มีผลบังคับใช้
มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. 66 เป็นต้นไป (ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ( 19 มีนาคม 2566))
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๖
ฉบับเต็ม
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นปีที่ ๘ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัด สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผล และความจำเป็นในการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะทำให้ลูกจ้างซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความมั่นคงในการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นทางเลือกสำหรับนายจ้างและลูกจ้างในการจ้างแรงงาน ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้ สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไü้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๖”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่üันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๓/๑ แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
“มาตรา ๒๓/๑ เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้าง และเป็นการส่งเสริม คุณภาพชีวิตและการทำงานของลูกจ้าง หรือในกรณีมีความจำเป็น นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้างนำงานในทางการที่จ้าง หรือที่ตกลงไห้กับนายจ้างซึ่งมีลักษณะหรือสภาพของงานที่ลูกจ้างสามารถ ปฏิบัติงานนอกสถานประกอบกิจการ หรือนอกสำนักงานของนายจ้างได้ โดยสะดวกให้ลูกจ้างนำงาน ดังกล่าวไปทำที่บ้าน หรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือตกลงให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ ได้
การตกลงตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดทำเป็นหนังสือหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึง และนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง โดยอาจตกลงให้มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
ช่วงระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการตกลง
วัน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก และการทำงานล่วงเวลา
หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและทำงานในวันหยุด รวมทั้งการลาประเภทต่าๆ
ขอบเขตหน้าที่การทำงานของลูกจ้างและการควบคุม หรือกำกับการทำงานของนายจ้าง
ภาระหน้าที่เกี่ยüกับการจัดหาเครื่องมือ หรืออุปกรณ์การทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็น อันเนื่องจากการทำงาน
เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานปกติตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือสิ้นสุดการทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าในทางใด ๆ กับนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน เว้นแต่ลูกจ้างได้ให้ความยินยอมโดยทำหนังสือไว้ล่วงหน้าก่อน
ลูกจ้างซึ่งทำงานที่บ้าน หรือที่พักอาศัย หรือทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ มีสิทธิเช่นเดียวกับลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง”
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควร แก้ไขเพิ่มเติมโดยกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงกัน ให้ลูกจ้างสามารถนำงานไปทำ นอกสถานประกอบกิจการ หรือนอกสำนักงานของนายจ้างได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทำงาน ของลูกจ้างและเพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้าง ตลอดจนมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาจราจร ลดการใช้พลังงานและเชื้อเพลิง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
คำชี้แจง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566
โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๒0 ก วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๖ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๖ เป็นต้นไปมีเจตนารมณ์เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายปัจจุบันให้มีความสอดคล้องกับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปและเป็นการกำหนดแนวทางการทำงานที่บ้านหรือที่พักอาศัยหรือการทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ ให้มีความขัดเจน เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการทำงานของลูกจ้าง ก่อให้เกิดประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้าง แก้ไขปัญหาจราจรลดปัญหาการใข้พลังงานและเชื้อเพลิง ตลอดจนเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวของลูกจ้าง เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ให้นายจ้าง ลูกจ้าง ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องได้เข้าถึงตัวบทกฎหมายได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายขึ้น อันเป็นการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงได้จัดทำคำชี้แจงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๖ ดังต่อไปนี้
Comentários