top of page

คิดบวก ผลงานบวก Positive Thinking for Work



ไม่ว่าจะในโลกแห่งการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น คนแต่ละคนก็จะมีวิธีการมองปัญหา และหาวิธีแก้ไขที่แตกต่างกันไป บางคนมองปัญหาเป็นอุปสรรค ที่ไม่จบสิ้น ในขณะที่บางคนกลับมองมันเป็นเกมที่สนุก และท้าทายความสามารถ ซึ่งสิ่งที่ทำให้แต่ละคน มองต่างกันไปก็คือเรื่องของความคิดนั่นเอง ความคิดทางบวกจะเป็นพลังที่ขับเคลื่อนเราไปสู่การมีทัศนคติที่ดี ซึ่งวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างความคิดทางบวกให้กับเรา จะช่วยพัฒนาความคิดในแง่ดีให้กับเราได้ ความคิดบวกหรือความคิดที่ดี จุดเริ่มต้นที่ตนเอง จะขยายสู่บุคคลรอบข้าง ทีมงานให้เกิดขึ้นจากความคิดเชิงบวก เชิงสร้างสรรค์ ส่งผลต่อความร่วมมือ มุ่งสู่เป้าหมาย นำมาซึ่งความสำเร็จของงานและทีมในลำดับต่อไป



การคิดเชิงบวก (positive thinking) หมายถึง วิธีที่คนเราใช้ในการมองสถานการณ์ต่าง ๆ และการ

ค้นหาสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ในสถานการณ์นั้น การคิดเชิงบวกจะเกี่ยวข้องกับ เจตคติที่อยู่ภายในจิตใจ (mental attitude) ที่คนเรายอมให้เข้าไป แทรกซึม อยู่ในความคิด คำพูด และจินตนาการต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเจริญเติบโต ความก้าวหน้า และความสำเร็จของตนเอง เจตคติจึงเป็นตัวคาดหวังที่ทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ตามที่ตนต้องการ อย่างเช่น คนที่มีเจตคติในทางบวกจะคาดหวังถึงความสุข ความสนุกสนานรื่นเริง การมีสุขภาพที่ดี รวมทั้งคาดหวังถึงผล

เจตคติที่อยู่ในใจ


เจตคติที่อยู่ในใจนี้ไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด แต่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาอันเป็นผลที่เกิดจากการ

ได้รับอิทธิพลของ 3 Es นั่นก็คือ :

  • Environment ซึ่งได้แก่ สภาพทางบ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน อิทธิพลจากสื่อมวลชน การนับถือศาสนา สภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง รวมทั้ง ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อซึ่งทำให้แต่ละคน มีภูมิหลัง และพื้นฐานของชีวิตที่แตกต่างกัน

  • Experience หมายถึง ประสบการณ์ด้านบวกหรือด้านลบที่คนเรามีต่อผู้อื่น ถ้าเราเคยมีประสบการณ์ที่ดี (ด้านบวก) กับผู้ใด เราก็จะมีเจตคติที่ดีต่อผู้นั้นด้วย

  • Education หมายถึง การศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบที่ช่วยทำให้คนเรา มีความเฉลียวฉลาด มีคุณธรรม ศีลธรรม มีจิตสำนึกที่ดีงาม สามารถนำพาชีวิตของตนเอง ไปสู่ความสำเร็จได้


การทํางาน คือการปฎิบัติธรรม : ความสุขจากการทํางาน


การทํางาน คือการปฎิบัติธรรม: ความสุขจากการทํางาน •

อิทธิบาท 4 ธรรมะทีใช้ในการทํางาน

ฉันทะ : ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่

วิริยะ : ขยันหมั่นเพียรกับงานที่มี

จิตตะ : เอาใจใส่รับผิดชอบกับงานที่ทำ

วิมังสา : การพินิจพิเคราะห์ และใช้ปัญญาตรวจสอบงาน


ทำไมต้องคิดเพื่อความสำเร็จ

  • เพื่อสร้างพลังใจในชีวิต

  • ดำรงอยู่อย่างมีความสุข

  • ทัศนคติที่ดีต่อตนเอง และผู้อื่น

  • มุมมองทุกด้านอย่างทรงพลัง

  • มองทุกปัญหาอย่างเป็นระบบ

  • มองทุกมิติอย่างสร้างสรรค์



ตารางเปรียบเทียบมุมมองด้านลบและด้านบวก



มองมุมลบ (Negative Thinking)

- น่าเบื่อมากๆ

- เกิดขึ้นอีกแล้วหรือเนี่ย

- ทำไมถึงต้องเป็นเราในการแก้ไขปัญหานี้?

- ทำไม่มีใครมาช่วยเราแก้ไขปัญหานี้บ้าง?

- ปัญหาเก่ายังไม่หาย ปัญหาใหม่เข้ามาอีกแล้ว?

- จะแก้ไขปัญหาได้ไหมเนี้ย?

- ไม่อยากอยู่แล้วปัญหามากจริง ๆ ลาออกดีกว่า


มองในมุมบวก (Positive Thinking)

- เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถ

- ทุกปัญหามีทางออกเสมอ เราทำได้

- สนุกดี มีอะไรให้ทำอีกแล้ว

- ได้ค้นหา ศึกษา ทดลองอะไรใหม่ ๆ

- ได้มีโอกาสพบเพื่อนร่วมงานใหม่ ๆ (กรณีปัญหาที่ต้องอาศัย ความร่วมมือจากต่างแผนก)

- ได้รู้จักวิธีการระดมสมอง (Brain Storming) และเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม



ความสุขของคนเรา

เป้าหมายที่มีความหมาย สิ่งนั้นมีคุณค่ามีความหมายมากกว่าตัวเราเอง เราสร้างให้เกิดขึ้นด้วยตัวเราเอง เช่น นอกเหนือ จากจะไปเล่นสนุกแล้ว จะทำอะไรอีก นอกจากตัวเราเอง คือ เป้าหมายเพื่อคนอื่น แล้วจะดี เพราะกว้างมากขึ้น จะค้นพบความหมายที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต


SWOT Analysis

คือ การวิเคราะห์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานให้บรรลุ วิสัยทัศน์ พันธกิจ หรือเป้าประสงค์ขององค์กรมี 4 องค์ประกอบ คือ

- S (Strength) คือ การวิเคราะห์จุดแข็งขององค์กร ว่ามีอะไรเป็นจุดแข็งหรือได้เปรียบ

- W (Weakness) คือ การวิเคราะห์ จุดอ่อน หรือ จุดด้อยขององค์กร

- 0 (Opportunity) คือ โอกาสที่จะทำให้สำเร็จได้

- T (Threat) คือ อุปสรรคที่อาจจะทำให้ไม่สามารถทำงานได้สำเร็จ

ดู 1,694 ครั้ง

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page