ความสำคัญของการประเมินสมรรถนะ ที่HR ต้องรู้!
top of page

ความสำคัญของการประเมินสมรรถนะ ที่HR ต้องรู้!

อัปเดตเมื่อ 29 มี.ค. 2565

#การประเมินสมรรถนะ #การประเมินcompetency #การพัฒนาสมรรถนะ #การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร #สมรรถนะด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคล #สมรรถนะกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ #อบรมhr #ฝึกอบรมhr #คอร์สเรียนhr #หลักสูตรอบรมhrมือใหม่ #การพัฒนาบุคคล #อบรมสัมมนา #สถาบันฝึกอบรม #หลักสูตรอบรมผู้บริหาร #อบรมอินเฮาส์ #InhouseTraining #PublicTraining #อบรมออนไลน์ฟรี #อบรมฟร#HRTraining


การบริหารทรัพยากรยุคใหม่เป็นบริบทการจัดการทรัพยากรบุคคลขององค์กร ความรู้และความเข้าใจผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล และการประเมินสมรรถนะทั้ง Line function และ HR จึงเป็นประเด็นสำคัญในการกำหนดโครงสร้างการประเมินสมรรถนะบุคคล อันประกอบด้วยหลักการกำหนดการประเมินสมรรถนะบุคคลตามประเภท และตามลักษณะงาน เกณฑ์มาตรฐานสมรรถนะที่พึงประสงค์ที่ต้องการ (ค่าคะแนนแต่สมรรถนะ) หลักการประเมินสมรรถนะแต่ละประเภท แต่ละตำแหน่งจะได้ผลต่อการนำมาวางแผนพัฒนาบุคลากรตามตำแหน่งได้ถูกต้องและตรงตามจุดมุ่งหมาย




สมรรถนะ (competency)

สมรรถนะ (Competency) คืออะไร สมรรถนะ (Competency) คือ กลุ่มของคุณลักษณะใด ๆ ที่อยู่ภายในบุคคล ประกอบด้วย ความรู้ (Knowledge ) ทักษะ (Skills) และเจตคติ (Attitudes) ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง (Job Roles) ให้ประสบความสำเร็จและมีความโดดเด่นกว่าคนอื่น

ๆ ในเชิงพฤติกรรม



องค์ประกอบของสมรรถนะ

มีกี่องค์ประกอบ อะไรบ้าง?

องค์ประกอบของสมรรถนะ มีก็องค์ประกอบ อะไรบ้าง ?

องค์ประกอบของสมรรถนะ สมรรถนะประกอบด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่

  • ความรู้ (Knowledge) หมายถึง ความสามารถในการอธิบาย ถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ให้เพื่อนร่วมงาน หรือผู่ใบังคับบัญชา และสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จนเป็นผลสำเร็จ

  • ทักษะ (Skills) หมายถึง ความชำนาญ หรือความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานจนสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ด้วยความมุ่งมั่นจากจิตใจ และร่างกาย

  • เจตคติ (Attitudes) ได้แก่แนวคิดส่วนตน (Self -concept) แรงผลักดันภายใน (Motive) อุปนิสัย ( Traits) หรือภาพลักษณ์ส่วนตน (Self -image) ซึ่งสังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออกมา โดยเจตคติเป็นส่วนที่มีความท้าทายสำหรับการพัฒนาคน เนื่องจากเจตคติเป็นสภาวะทางความคิด ความรู้สึก ที่ผ่านการปลูกฝังมาตามช่วงวัยและขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล



ประโยชน์สมรรถนะในองค์กร


ประโยชน์สมรรถนะในองค์กรมีดังนี้

  1. ช่วยให้องค์กรสามารถคัดสรรบุคคลที่มีคุณสมบัติที่ดี ทั้งด้านความรู้ ทักษะ และความสามารถตลอดจนพฤติกรรมที่เหมาะสมกับงาน

  2. ช่วยให้ผู้ปฏิบัติทราบถึงระดับความรู้ ทักษะ และความสามารถของตนเองว่าอยู่ในระดับใดและจำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องใด

  3. นำไปใช่ในการจัดฝึกอบรมและพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร

  4. สมรรถนะช่วยสนับสนุนตัวชี้วัดหลักของผลงาน (Key PerformanceIndicators: KPIs)

  5. ใช้ตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

  6. เพื่อให้ประสิทธิภาพของบุคลากรในองค์กรมีมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกันด้วยสมรรถนะหลักขององค์กร




การจัดกลุ่มประเภทของสมรรถนะ


สมรรถนะ (Competency) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  • สมรรถนะหลัก (Core Competency )

คือ สมรรถนะพื้นฐานที่ตรงตามความต้องการขององค์กร และเป็นสมรรถนะที่ทุกคนในองค์กร

ต้องมีร่วมกันสมรรถนะประจำหน้าที่งาน (Functional Competency) คือ สมรรถนะที่กำหนดเฉพาะเจาะจงตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ ส่งผลต่อความสำเร็จของงาน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 สมรรถนะย่อย ได้แก่

  • สมรรถนะด้านการบริหาร (Manageria Competency)

คือ สมรรถนะในการบริหารจัดการงานที่ปฏิบัติ รวมถึงบริการจัดการบุคคลที่เกี่ยวข้อง และสมรรถนะในอาชีพ (Technical Competency) คือ สมรรถนะเชิงเทคนิคเฉพาะที่แตกต่างกันตามลักษณะงาน




เทคนิคในการประเมินสมรรถนะ


  • การประเมินสมรรถนะ การประเมินตนเองและการประเมินร่วมกับผู้บังคับบัญชา (Self Assessment and Boss Assessment) อาจใช้ การประเมิน 180 หรือ 360 องศา (360 DegreesEvaluation ) เช่น การประเมินจากเพื่อนร่วมงาน การประเมินจากลูกค้า

  • การสังเกตพฤติกรรม (Observation)

  • แบบทดสอบสมรรถนะ (Knowledge and Skills Test) เช่น แบบทดสอบความรู้หรือทักษะความชำนาญ

  • การสัมภาษณ์ (Interview)

  • แบบสอบถาม (Questionnaire) ไม่ว่าจะใช้รูปแบบใดในการประเมินให้พิจารณาว่ารูปแบบประเมิที่ใช้หมาะสมหรือไม่และอาจใช้หลากหลายรูปแบบในการประเมินให้สามารถทราบสมรรถนะที่แท้จริงได้



องค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรฐานสมรรถนะ


องค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรฐานสมรรถนะ ประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้

  • ความรู้ (Knowledge)

  • ทักษะ (Skill)

  • คุณลักษณะ / เจตคติ (Attribute/Attitude)

  • การประยุกต์ใช้ (Application)

  • การกระทำ / การปฏิบัติ (Performance)

  • งานและสถานการณ์ต่าง ๆ (Task/Job/Situations)

  • ผลสำเร็จ (Success) ตามเกณฑ์ที่กำหนด (Performance Criteria)



สรุป

การบริหารทรัพยากรยุคใหม่เป็นบริบทการจัดการทรัพยากรบุคคลขององค์กร ความรู้และความเข้าใจผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคลทั้ง Line function และ HR จึงเป็นประเด็นสำคัญในการกำหนดโครงสร้างสมรรถนะบุคคล อันประกอบด้วยหลักการกำหนดสมรรถนะบุคคลตามประเภท และตามลักษณะงาน เกณฑ์มาตรฐานสมรรถนะที่พึงประสงค์ที่ต้องการ (ค่าคะแนนแต่สมรรถนะ) หลักการประเมินสมรรถนะแต่ละประเภท แต่ละตำแหน่งจะได้ผลต่อการนำมาวางแผนพัฒนาบุคลากรตามตำแหน่งได้ถูกต้องและตรงตามจุดมุ่งหมาย


การใส่ใจพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรนั้นฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรจะต้องใส่ใจและให้ความสำคัญในการพัฒนาความสามารถของแต่ละคนให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด ที่จะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และเป็นประโยชน์ต่อการทำงานตลอดจนการวางแผนของฝ่ายทรัพยากรบุคคลในระยะยาวอีกด้วย และอาจค้นพบสมรรถนะที่ซ่อนอยู่ได้ ที่สามารถสนับสนุนให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้เช่นกัน ซึ่งนั่นคือหนึ่งในภาระกิจสำคัญของงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยนั่นเอง

 

อบรม HR : https://www.hrodthai.com/

ดู 1,539 ครั้ง
Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
logo-toppro.png

สถาบันฝึกอบรมและที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กร บริการให้คำปรึกษาด้านระบบ ISO แบบครบวงจรด้วยหลักสูตรคุณภาพ อาจารย์ผู้สอนมากด้วยประสบการณ์

Contact info

ที่อยู่ : 7/77 หมู่ 5 ตำบลห้วยกะปิ
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

20130

098-281-9879 (คุณพิมพ์ลภัส)

065-9564-064 (คุณอรุณ)

063-2681-079 (คุณภานรินทร์)

Follow Us
  • Facebook
  • line
  • Youtube
  • TikTok

Copyright 2019 © HERMES Digital Marketing.All Rights Reserved

bottom of page