ข้อกำหนดระบบบริหารความปลอดภัยของอาหาร ISO 22000 (FSSC)
ข้อกำหนดระบบบริหารความปลอดภัยของอาหาร ISO 22000 (FSSC) คือ มาตรฐานข้อกำหนดของระบบการบริหารงานความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นข้อกำหนดเฉพาะสำหรับระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารในห่วงโซ่อาหาร โดยเพื่อให้เป็นมาตรฐานกลางที่ครอบคลุมข้อกำหนดทุกมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ที่มีการบังคับใช้ในทางการค้าสินค้าอาหารอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารมีมาตรฐานเดียวที่สอดคล้องกัน และเป็นมาตรฐานที่ตรวนประเมินได้ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล (Auditable standard) รวมทั้งจะช่วยผลักดันให้องค์กรให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฏหมาย
ระบบบริหารความปลอดภัยของอาหาร ISO 22000 ระบบสำคัญที่ธุรกิจผลิตอาหารมาตรฐานที่ต้องมี
ISO 22000 มาตรฐานความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่ง ISO 22000 จะครอบคลุมข้อกำหนดของ GMP และ HACCP และมีข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการในองค์กร ซึ่งมาตรฐาน ISO 22000 โดยจะเป็นมาตรฐานที่กำหนดความปลอดภัยทั้งห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมอาหารที่จะครอบคลุมตั้งแต่ วิธีการปลูก ขนส่ง ผลิต จนถึงมือผู้บริโภค เน้นที่การทำงานร่วมกันระบบการจัดการและการควบคุมอันตราย เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดต่อผู้บริโภค มีการควบคุมที่รัดกุมถูกต้องเหมาะสมจากการสื่อสารกันระหว่างผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมอาหาร หรือห่วงโซ่การผลิตอาหารทุกราย และมีการตรวจสอบผลตอบรับ หรือความต้องการของผู้บริโภคผ่านการสื่อสารกันระหว่างตัวแทนจำหน่ายและผู้บริโภค
ระบบบริหารความปลอดภัยของอาหาร ISO 22000 เหมาะกับธุรกิจใดบ้าง
เหมาะกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาหารโดยตรง หรือกล่าวคือเป็นมาตรฐานสำคัญในสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม ซึ่งรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตเพื่อบรรจุอาหารด้วยเช่นกัน เนื่องจากมาตรฐาน Food Safety System Certification นี้ ได้ถูกพัฒนาขึ้นวัตถุประสงค์เพื่อที่จะรับรองความปลอดภัยทางอาหารของ Supply Chain ในองค์กร เช่น การใช้ผัก จำพวกเสียง่ายมาเป็นวัตถุดิบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์ หรือกระทั่ง สารเติมแต่งอาหารวิตามิน จุลินทรีย์ชีวภาพ ตลอดจนการผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร เป็นต้น
ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการได้รับจากระบบ ISO 22000
ครอบคลุมการจัดทำระบบสุขลักษณะพื้นฐาน เช่น GAP, GMP/HACCP และสอดคล้องกับระบบบริหาร ISO 9001:2000
ครอบคลุมมาตรฐานความปลอดภัยตลอด ห่วงโซ่อาหาร รวมทั้งกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ ต่าง ๆ
ระบบปฏิบัติงานสอดคล้องกับข้อกำหนดของ หน่วยงานควบคุมต่าง ๆ ที่เป็นสากล มีความโปร่งใส
ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
การได้รับ Food Safety System Certification 2200 หรือระบบบริหารความปลอดภัยของอาหาร ISO 22000 มีประโยชน์อย่างไรต่อธุรกิจ
ปัจจุบันความปลอดภัยของเรื่องอาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้บริโภคอย่างมาก และมีมาตรฐานเกี่ยวกับด้านอาหารต่าง ๆ มากมาย แต่การขอรับรอง Certificated ด้าน Food Safety จะช่วยแสดงความมุ่งมั่นของผู้ผลิตต่อด้านความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค ซึ่งนอกจากมียังมีประโยชน์ต่อองค์กรในหลาย ๆ ด้าน อาทิ
ปรับปรุงกระบวนการความปลอดภัยของอาหาร สามารถช่วยลดอันตรายและความเสี่ยงด้านอาหารที่อาจเกิดขึ้นได้
มาตรฐานนี้สามารถเพิ่มชื่อเสียงของคุณได้รับลูกค้าและลดต้นทุนเพิ่มผลกำไรของคุณ FSSC 22000 แสดงให้เห็นถึงวิธีการปรับปรุงกระบวนการและช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากรโดยการลดต้นทุน จัดลำดับความสำคัญการเข้าถึงตลาดต่างประเทศ
สร้างความมั่นใจในความรับผิดชอบร่วมกันของพนักงานทุกคนและดำเนินการตามระบบการควบคุมตนเองที่มีประสิทธิภาพ
สร้างความเชื่อมั่นในห่วงโซ่อุปทาน ทำให้สามารถพิสูจน์ได้ว่าผลิตภัณฑ์และบริการมีคุณภาพสูงมีสุขภาพดี และเชื่อถือได้ การรับรองมาตรฐาน Food Safety นี้ บ่งชี้ว่าคุณได้ทำตามขั้นตอนเพื่อลดอันตรายจากความปลอดภัยของอาหารและลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ
สร้างความมั่นใจในการผลิตอาหารด้วยโปรแกรมเบื้องต้น ปรับปรุงคุณภาพของอาหาร เพื่อสร้างวินัยในกิจกรรมการผลิต
การรับรอง ทำให้มีโอกาสสร้างตลาดใหม่และสร้างพันธมิตรใหม่ สามารถมั่นใจได้ว่าธุรกิจที่ได้รับการรับรองมีคุณภาพสูงในอุตสาหกรรมอาหาร จาก FSSC 22000
ทำให้การศึกษาความปลอดภัยด้านอาหารทำได้ง่ายขึ้นและปรับปรุงเอกสารและขั้นตอนการทำงานของธุรกิจเตรียมความพร้อมก่อนขอมาตรฐาน FSSC เบื้องต้น
ข้อกำหนดระบบบริหารความปลอดภัยของอาหาร ISO 22000
1. ระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหาร (Food Safety management System) องค์กรต้องจัดทำเอกสาร (Document) ซึ่งประกอบด้วยนโยบายและวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยอาหาร ขั้นตอนการดำเนินการ (Procedure) บันทึก (Record) และเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็น
2.ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management Responsibility) ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ต้องมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนด้านความปลอดภัยอาหาร โดยการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมกับบทบาทขององค์กรในห่วงโซ่อาหารและสอดคล้องกับกฏหมาย รวมถึงสื่อสารภายในองค์กรให้รับทราบ นอกจากนีั้ต้องแต่งตั้งบุคคลมาทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมความปลอดภัยอาหาร (Food Safety Team Leader) เพื่อจัดทำรบบความปลอดภัยอาหาร รายงานประสิทธิภาพผลของระบบ รวมทั่งประสานกับหน่วยงานภายนอก
3.การจัดการทรัพยากร (Resource management) องค์กรต้องจัดหาทรัพยากรให้เพียงพอทั้งวัสดุ สิ่งก่อสร้าง สิ่งแวดล้อม รวมทั้งบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินการทางด้านความปลอดภัยอาหารเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดสอดคล้องกับมาตรฐาน
4.การวางแผนและการจัดทำผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย (Planning and realization of safe products) องค์กรต้องมีโปรแกรมพื้นฐานด้านสุขลักษณะ (Pre-requisite program) (PREs) ซึ่งอาจจะเป็น
– GAP (Good Agriculture Practice)
– GHP (Good Hygienic Practice)
– GVP (Good Veterinarian Practice)
– GDP (Good Distribution Practice)
– GPP (Good Production Practice)
– GTP (Good Trading Practice)
ขึ้นอยู่กับประเภทผู้ประกอบการในห่วงโซ่อาหาร และต้องจัดทำเป็นเอกสารองค์กรต้องนำหลักการของระบบ HACCP มาประยุกต์ใช้ เพื่อควบคุมอันตรายในผลิตภัณฑ์สุดท้ายให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ก่อนการจัดส่งไปยังในขั้นต่อไปในห่วงโซ่อาหาร
5.การรับรองผลการทวนสอบและการปรับปรุงระบบความปลอดภัยอาหาร (Validation
Verification and Improvement of FSMS) องค์กรต้องทำการรับรอง (Validate) เพื่อให้แสดงว่า มาตรการนั่นๆ สามารถให้ผลค่าที่ตั้งไว้ในการควบคุมันตราย มีประสิทธิภาพ และมีความสามารถเพื่อให้ผลิตภัณฑ์บรรลุตามที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย ต้องได้รับการปรับเปลื่ยนและประเมินใหม่ ก่อนการปรปะยุกต์ใช้มาตรการควบคุมใน PRPs และแผน HACCP หรือการเปลื่ยนแปลงใดๆ องค์กรต้องแสดงหลักฐานเพื่อยืนยันว่าวิธีการเฝ้าระวัง การตรวจวัด และอุปกรณ์ มีความเหมาะสมที่สามารถให้ผลการตรวจสอบที่น่าเชื่อถือ เครื่องมืออุปกรณ์ต้องมีการสอบเทียบมีการจัดเก็บและรักษาบันทึกผลการสอบเทียบและทวนสอบระบบการจัดการด้านความปลอดภัยอาหาร เช่น ตรวจประเมินภายใน (Internal audit) หากพบว่าการทวนสอบให้ผลไม่สอดคล้องตามแผน ต้องลงมือดำเนินการแก้ไขและต่องมีการวิเคราะห์ผลลัพธ์ต่อกิจกรรมการทวนสอบ และรายงานผู้บริหารเพื่อนำเข้าสู่การประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร และใช้เป็นข้อมูลปรับระบบให้ทันสมัย
4.บริบทขององค์กร (Context of the Organization)
องค์กรต้องระบุประเด็นภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ขององค์กร และส่งผลกระทบต่อความสามารถในการบรรลุเป้าหมายที่คาดหวัง (Intended Result) ของระบบ FSMS
4.3 การกำหนดขอบเขตของระบบการบริหารความปลอดภัยในอาหาร
องค์กรต้องกำหนดขอบข่ายและการนำระบบ FSMS ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างขอบข่ายขององค์กร
ขอบข่ายต้องเฉพาะเจาะจงกับผลิตภัณฑ์และการบริการ สถานที่ผลิตและแปรรูปใน FSMS
ขอบข่ายต้องรวมถึง กิจกรรม กระบวนการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ที่ส่งผลต่อระบบ Food safety ของผลิตภัณฑ์สุดท้ายภายใต้ขอบข่ายที่กำหนด
การกำหนดขอบข่ายนี้ องค์กรต้องพิจารณา a) ประเด็นปัญหาภายนอก และภายในที่อ้างอิงถึงใน 4.1 b) ข้อกำหนดที่อ้างอิงถึงใน 4.2
ขอบข่ายต้องจัดทำเป็นเอกสารสารสนเทศ และจัดเก็บไว้
4.4 ระบบการบริหารความปลอดภัยในอาหาร
องค์กรต้องสร้างนำไปปฏิบัติ รักษา อัปเดตและปรับปรุงระบบ FSMS อย่างต่อเนื่อง รวมถึงกระบวนการที่จำเป็น และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการนั้น ๆ เพื่อให้ สอดคล้องกับมาตรฐานฉบับนี้
Comments