การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพ (Quality Awareness)
top of page

การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพ (Quality Awareness)

#การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพ


การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพ Quality Awareness

การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพ Quality Awareness

หมายถึง การที่ผู้ปฏิบัติงานรับรู้ถึงผลกระทบที่ได้จากการปฏิบัติงาน หรือให้ความสำคัญกับคุณภาพอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำให้สินค้า หรือบริการที่ได้มีคุณภาพ หรือได้มาตรฐานตรงตามที่กำหนดเอาไว้


องค์ประกอบของการบริหาร

(Management Component)

ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตการบริหาร จะมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการ คือ



1. เป้าหมาย (Goal)

ผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดทิศทางหรือวัตถุประสงค์ของการทำงานได้อย่างชัดเจน


2. ปัจจัยการบริหาร (Factor of Management)

ที่สำคัญได้แก่ คน,เงิน,วัสดุ,เทคนิควิธี,เครื่องจักร


3. ลักษณะของการบริหาร

การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผู้บริหารจะต้องนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์การ


Quality Management Principle

  1. มุ่งเน้นที่ลูกค้า Customer focus

  2. ความเป็นผู้นำ Leadership

  3. การมีส่วนร่วมของบุคลากร Engagement of People

  4. การเข้าถึงกระบวนการ Process Approach

  5. การปรับปรุง Improvement

  6. การตัดสินใจตามหลักฐานที่พบ Evidenced-based decision making

  7. การจัดการสัมพันธ์Relationship Management


คุณลักษณะของคุณภาพ

แยกออกเป็น 2 ลักษณะ

1. คุณภาพของผลิตภัณฑ์

คุณภาพของผลิตภัณฑ์คือการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเกี่ยวข้องกับการวางแผน และกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามที่กำหนด


2. คุณภาพการให้บริการ

ความสามารถในการดำเนินงานเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดความพึ่งพอใจ


การควบคุมคุณภาพ (QC)

  1. การตรวจสอบ(Inspection)

  2. การควบคุมคุณภาพ(Quality Control)

  3. การประกันคุณภาพ(Quality Assurance)


องค์ประกอบสำคัญจิตสำนึกคุณภาพ

1. องค์กรหรือหน่วยงาน (Organization)

ผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เช่น การนำระบบบริหารคุณภาพ ISO


2. หัวหน้างาน (Supervisor)

โดยการวางแผน การดำเนินงาน และสื่อสารไปยังพนักงานผู้ปฏิบัติให้มีความรู้และความสำคัญของคุณภาพ


3. พนักงาน (Operator)

หัวใจหลักในการสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้น พนักงานมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพได้โดยความเข้าใจในหน้าที่มีความละเอียดรอบคอบ ในการปฏิบัติงาน



ประโยชน์ที่ได้จากจิตสำนึกด้านคุณภาพ

  1. ปริมาณของเสีย (Defect)

  2. การแก้ไขงาน (Rework)

  3. การหยุดรองาน (Delay) ลดน้อยลง

  4. ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานหรือเครื่องจักรสูงขึ้น

ดู 7,007 ครั้ง
Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
bottom of page