top of page

การปรับ Mindset เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

#การปรับMindsetเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน #Mindset



การปรับ Mindset เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

สิ่งสำคัญ ที่ทุกองค์กรต้องการ คือ Mindset หรือความเชื่อ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานที่ดี และประสบผลสำเร็จในการทำงานต่อตนเอง และองค์กร หากองค์กรที่มีบุคลากรแบบ "Fixed mindset" หรือทัศนคติที่ยึดติด อยู่ในกรอบเดิมไม่กล้า ที่จะออกจาก “Comfort Zone” เป็นเวลานาน ส่งผลให้พนักงานรู้สึกว่า แต่ละวันที่ไปทำงานนั้นไม่มี “passion” ในการทำงานมี มุมมอง ความคิด สไตล์การทำงานที่แตกต่างกัน ทีมงาน ขาดความเป็นหนึ่งเดียว มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก เกิดปัญหาในกระบวนการทำงานระหว่างแผนก หรือส่วนงาน ทำให้องค์การ เกิดการเติบโตช้า ไม่ทันกับคู่แข่งทางธุรกิจ บุคลากรขาดการนำศักยภาพของตนเอง มาใช้ในการทำงานได้อย่างเต็มที่


ทั้งนี้ หากองค์กรเสริมสร้างทักษะแนวคิด ให้กับพนักงานหรือที่เรียกว่า "Growth Mindset" หรือทัศนคติและแนวคิดแบบยืดหยุ่น และเติบโตพัฒนาต่อไปข้างหน้า และการสร้าง Passion การทำงาน

การปรับ Mindset เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ถือเป็นหัวใจสำคัญ ในการพัฒนาศักยภาพบุคคล ให้ทำงานเต็มไปด้วยพลังแห่งความกระตือรือร้น สู่ความสำเร็จในการทำงานและองค์กร



ความหมายของ Mindset คืออะไร ?

ความหมายของ Mindset คืออะไร ? Mindset คือ ความเชื่อ หรือความคิด ที่ส่งผลถึงพฤติกรรมและทัศนคติ ประสบการณ์ที่ได้รับ (Input) จะส่งผลต่อกรอบความคิด (Mindset) และทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง พัฒนามุมมอง หรือเรียกว่า (Perspective)


ความสำคัญของ Mindset คือ ?

ความสำคัญของ Mindset คือ ? Mindset มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ เพราะ Mindset เป็น ตัวขับเคลื่อนในทุกแง่มุมของชีวิต




การแบ่งกลุ่มตาม Mindset

การแบ่งกลุ่มตาม Mindset เป็นกลุ่มของความเชื่อ หรือวิธีการคิดที่ส่งผลต่อพฤติกรรม

มุมมอง และทัศนคติ Carol Dweck ผู้คิดค้นทฤษฏีเรื่อง Mindset ได้แบ่งประเภทของ

Mindset เป็น 2 แบบด้วยกัน คือ

  • Growth Mindset (กรอบแนวคิดแบบเติบโต)

  • Fixed Mindset (กรอบความคิดแบบตายตัวหรือปิดตาย)



1) Growth Mindset เป็นวิธีคิดแบบเติบโต มองว่าความก้าวหน้าเติบโต สามารถเรียนรู้ และพัฒนาให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง เป็นผู้กำหนด ตัวอย่าง ความคิดลักษณะนี้ เช่น

- ความล้มเหลว คือการเรียนรู้

- ฉันสามารถเรียนรู้เรื่องอะไรก็ได้ที่อยากรู้

- อุปสรรค ความท้าทาย ช่วยให้ฉันเติบโต

- ความพยายาม และ ทัศนคติ เป็นตัวกำหนดความสามารถ

- คำติชม คือสิ่งที่ช่วยให้พัฒนาไปในทางสร้างสรรค์

- ฉันได้แรงบันดาลใจ จากความสำเร็จของคนอื่น

- ฉันชอบลองสิ่งใหม่ๆ


2) Fixed Mindset เป็นวิธีคิดแบบตายตัว มุมมองการคิดแบบนี้ จะตรงกันข้ามกับแบบแรก คือ มองว่าทุกอย่างถูกกำหนดตายตัว ไม่สามารถไปควบคุม หรือเปลี่ยนแปลงอะไร ตัวอย่างความคิด ลักษณะนี้ เช่น

- ความล้มเหลวเป็นขีดจำกัดความสามารถ

- ความสามารถของฉันไม่มีการเปลี่ยนแปลง

- ฉันไม่ชอบเผชิญปัญหาอุปสรรคที่ยากลำบาก

- เมื่อไหร่ที่ฉันรู้สึกไม่สมหวัง ฉันก็ล้มเลิก

- คำติชมและวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องส่วนบุคคล

- ฉันยึดถือในสิ่งที่ฉันร


การเสริมสร้าง 7 Meaning-Mindset


1) ปรับมุมมอง : คิดบวก

2) เข้าใจตนเอง : หา inspiration

3) สร้างพลัง : กระทำอย่าง Active

4) รู้เหตุผลตนเอง : รักษา motivation

5) แวดล้อมด้วยสิ่ง ที่อยากจะเป็น : เข้าร่วม กลุ่ม & หาไอดอล

6) เชื่อมั่นใน ตนเอง : สู้ไม่ถอย

7) รับชัยชนะ : พูด และสร้างก าลังใจ


เทคนิคการสร้าง Mindset เพื่อความสำเร็จในการทำงาน

  • ฟังเสียง Mindset

  • เลือก Growth Mindset

  • เถียงกลับ

  • ลงมือทำ

  • ยังทำไม่ได้ ไม่ใช่ ทำไม่ได้

ปัญหาของบุคคลากรแบบ Fixed Mindset

จากสาเหตุดังกล่าวด้านบนเรียกว่า "Fixed mindset" คือ "ทัศนคติแบบดังเดิม หรือยึดติด อยู่ในกรอบเดิม ๆ ทำให้องค์กร มีอัตราการเติบโตอย่างช้า ๆ และไม่ต่อเนื่อง"


  • ไม่กล้าออกความคิดเห็น

  • ไม่กล้านำเสนอสิ่งใหม่

  • ไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองและเพื่อนร่วมงาน

  • ไม่อยากเติบโตหรือเลื่อนตำแหน่ง


2) วิธีการปลดล๊อค Fixed Mindset สร้าง Growth Mindset

ขั้นตอนที่ 1 : การสร้าง Growth Mindset

ขั้นตอนที่ 2 : คิดแบบ Growth mindset ท้าทาย ก้าวสู่การเติบโตอย่างมั่นคง

ขั้นตอนที่ 3 : สร้างความ มั่นใจ (บอกกับตัวเอง) ถึง แนวทางที่จะเติบโต

ขั้นตอนที่ 4 : ดำเนินการ ตามความคิดการเติบโต



องค์ประกอบที่ทำให้พนักงานรู้สึกเกิดความรักในการทำงาน (Employee Work Passion)




1. Collaboration องค์กรจะต้องมีการสนับสนุนให้พนักงานได้มีโอกาสได้ทำงาน ร่วมกัน เปิดใจ แสดงความคิดเห็นกันได้อย่างเปิดเผย มีการทำงานเป็นทีมที่ดี ไม่มีความ ขัดแย้งกันทั้งในระดับพนักงาน และระดับหน่วยงาน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้พนักงานได้แสดง ความเห็น และมีความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกับผู้อื่นที่ทำงานด้วยกัน ซึ่งความรู้สึกที่ดีตรงนี้เอง ที่ จะทำให้พนักงานเกิด Passion ในการทำงานได


2. Distributive Justice องค์กรจะต้องมีการกระจายความเป็นธรรมสู่พนักงาน ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขอบเขตการท างาน ค่าจ้างเงินเดือน การใช้กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ และการบริหารทรัพยากรต่างๆ ในองค์กรเพื่อให้พนักงานทุกคนได้เห็นว่า องค์กรต้องการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคน ซึ่งความเป็นธรรมนี้เอง ที่จะส่งเสริมให้พนักงาน (โดยเฉพาะกลุ่ม Talent)


3. Growth คือ มีโอกาสที่จะเติบโตในองค์กรได้ พนักงานจะเกิด work passion ได้ก็ต่อเมื่อรู้ว่าสิ่งที่ทำ นั้นสามารถทำให้ก้าวหน้าไปถึงไหนและองค์กรมีการส่งเสริมให้มี ความก้าวหน้าสักเพียงใด ถ้าองค์กรใดพนักงานรู้ว่าทำงานแล้วมีความก้าวหน้าได้อย่างแน่นอน สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ จะมีความรักและความทุ่มเทให้กับการทำงานมากขึ้น


4. Performance Expectation คนจะรักงานที่ตนเอง ทำได้นั้นต้องรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าต่อองค์กร ดังนั้น ถ้าองค์กรสามารถทำให้พนักงานรับรู้ว่า องค์กร คาดหวังผลงานอะไรจากพนักงาน และทำให้พนักงานรู้ว่าองค์กรขาดพนักงานไมได้ เพราะพนักงานคนนี้มีความสามารถที่จะทำให้องค์กรเจริญขึ้นไปพนักงานจะเกิด ความรู้สึกเป็นเจ้าของงาน และจะเกิด passion ในการทำงานมากขึ้น


แนวทางการสร้าง Passion สู่ความสำเร็จในการทำงาน



1) การสื่อสาร Communication

2) การเติบโตและการพัฒนา Growth and Development

3) การถูกยอมรับ และการถูกชื่นชม Recognition and appreciation

4) การสร้างความไว้ใจได้ และการสร้างความมั่นใจ Trust and Confident



แบบจำลอง S M C R



แบบจำลอง S M C R ของ David K. Berlo ซึ่งได้มีการเผยแพร่เมื่อปี 1960 แบบจำลองนี้เป็นแบบจำลองหนึ่งที่ค่อนข้างได้รับการกล่าวถึงมาก เนื่องจากว่า เข้าใจได้ง่ายถึงกระบวนการสื่อสาร ตั้งแต่ผู้ส่งสาร ไปยังผู้รับสาร โดย Berlo ได้กล่าวถึงกระบวนการของ ผู้ส่งสาร (Source/Sender) จะทำการ "เข้ารหัส" สาร (Message) ผ่านไปยังช่องทางการสื่อสาร (Channel) และไปถึงผู้รับสาร (Reciever) ซึ่งผู้รับสารจะทำหน้าที่ "ถอดรหัส" สารนั้น ๆ ออกมา จึงจะเข้าใจได้ว่าผู้ส่งสาร สื่อสารอะไรถึงผู้รับสาร โดยแบบจำลองนี้ เชื่อกันว่า สามารถตอบโจทย์ได้ทุกการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสารผ่านโทรศัพท์ หรือแม้กระทั่งการสื่อสารแบบละครเวที แบบจำลอง S M C R ก็สามารถตอบโจทย์ได้เช่นกัน


Berlo ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นไปอีก ถึงปัจจัยที่จะทำให้การสื่อสารนั้น "มีประสิทธิภาพ" ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบ จะมี 5 ประการย่อยๆที่คอยควบคุมอยู่จะอยู่ภายใต้

(1) ทักษะการสื่อสาร

(2) ทัศนคติ

(3) ความรู้

(4) ระบบสังคม

(5) วัฒนธรรม

ซึ่งจะเป็น "ปัจจัย" ที่ทำให้การสื่อสารนั้น ๆ สัมฤทธิ์ผลได้แค่ไหน ที่มา Parallel Communication -- การสื่อสารคู่ขนาน ในสื่อสารมวลชน

 

Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook
  • ไอคอน YouTube สังคม
logo-toppro.png

สถาบันฝึกอบรมและที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กร บริการให้คำปรึกษาด้านระบบ ISO แบบครบวงจรด้วยหลักสูตรคุณภาพ อาจารย์ผู้สอนมากด้วยประสบการณ์

Contact info

ที่อยู่ : 7/77 หมู่ 5 ตำบลห้วยกะปิ
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

20130

098-281-9879 (คุณพิมพ์ลภัส)

065-9564-064 (คุณอรุณ)

063-2681-079 (คุณภานรินทร์)

Follow Us
  • Facebook
  • line
  • Youtube
  • TikTok

Copyright 2019 © HERMES Digital Marketing.All Rights Reserved

bottom of page