การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงตามระบบ ISO45001: 2018
การประเมินความเสี่ยง Risk Assessment
ความเสี่ยง หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ซึ่งไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
ดังนั้นการประเมินความเสี่ยง หมายถึง การวิเคราะห์ พิจารณาถึงโอกาส และความรุนแรงของอันตรายที่ชี้บ่งออกมาได้ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดเพลิงไหม้ การระเบิด การรั่วไหลของสารเคมี
การประเมินความเสี่ยง เป็นการจัดระดับของความเสี่ยง ว่าเป็นการเสี่ยงเล็กน้อย หรือ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ความเสี่ยงสูง หรือ ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ เพื่อจะได้เป็นข้อมูล ในการดำเนินงานควบคุมความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงให้ใช้
ข้อกำหนดการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
6.1.2 การบ่งชี้อันตราย และ การประเมินความเสี่ยงและโอกาส
6.1.2.2 การประเมินความเสี่ยงด้านOH&S และความเสี่ยงอื่น ๆ ต่อระบบบริหาร OH&S องค์กรต้องจัดทำ, นำไปปฏิบัติและธำรงรักษากระบวนการ เพื่อ :
a) ประเมินความเสี่ยงด้าน OH&S จากอันตรายที่มีการบ่งชี้, โดยไตร่ตรอง (take into account) ประสิทธิผลของมาตรการควบคุมที่มีอยู่
b ) พิจรณาและประเมินความเสี่ยงอื่นเกี่ยวเพื่อ จัดทำ, นำไปปฏิบัติ, การดำเนินงาน และธำรงรักษาระบบบริหาร OH&S
วิธีการต่าง ๆ และเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงด้าน OH&S ขององค์กรต้องได้รับการกำหนดที่เกี่ยวข้องกับขอบเขต,ธรรมชาติ และช่วงเวลา, เพื่อทำให้มั่นใจว่าเป็นเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ , และใช้ในแนวทางที่เป็นระบบเอกสารสารสนเทศต้องได้รับการธำรงรักษาและจัดเก็บ สำหรับวิธีการต่าง ๆ และเกณฑ์
ประเภทของอันตราย (Hazard Sorce)
อันตรายจากเครื่องจักร อุปกรณ์
อันตรายจากวัตฤหนักตกใส่
อันตรายจากยานพาหนะ
อันตรายจากกระแสไฟฟ้า
อันตรายจากการตกจากที่สูง
สารเคมี/ ไอระเหย /ฝุ่น /ฟูม / ควัน
แสง เสียง ความร้อน / ความเย็น
รังสี สั่นสะเทือน ที่อับอากาศ
ท่าทางการทำงาน / virus/bacteria /animal etc.
ด้านจิตวิทยาสังคม (Social psychology) ปัจจัยส่วนบุคคล (Human Factor) Work load /Bully / ภาวะคุกคาม เป็นต้น หรือ อื่น ๆ
การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตราย ที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน
1. ศึกษา ทบทวน
รวบรวม การดำเนินงานทั้งหมดที่เกิดขึ้นใน โรงงานให้ครอบคลุม
พื้นที่
กิจกรรม
เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ฯลฯ
2. ชี้บ่งอันตราย (HAZARD IDENTIFICATION)
เพื่อวิเคราะห์หาอันตรายที่แอบแฝงอยู่ มีอันตราย อะไรบ้าง การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตราย ที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน อันตราย หมายถึง อุบัติเหตุ อุบัติภัยร้ายแรง ความเสียหาย การบาดเจ็บ ฯลฯ
3. ประเมินความเสี่ยง (RISK ASSESSMENT)
พิจารณาถึงโอกาสของการเกิดและความรุนแรงของอันตราย
4. จัดระดับความเสี่ยงจากอันตราย
เพื่อป้องกัน (กำจัด) หรือควบคุม (ลด) ความเสี่ยงจากอันตราย ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (ACCEPTABLE LEVEL)
5. กำหนดแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง (RISK MANAGEMENT PROGRAM)
เพื่อจัดหามาตราการความปลอดภัยในการป้องกัน (กำจัด) หรือ ควบคุม(ลด)ความเสี่ยง
หลักการและแนวคิดด้านความปลอดภัยพื้นฐาน
R = Recognition ตระหนัก (Hazard Identification)
E = Evaluation ประเมิน (Risk Assessment)
C = Control ควบคุม (Source / Path /Receiver)
ขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับการประเมินความเสี่ยง
1. จำแนกประเภทกิจกรรมของงาน
จัดทำรายการงานอาชีพ หรือหน้าที่ของตนเองและงานที่รับผิดชอบทั้งหมดโดยระบุตำแหน่งงาน ตามลักษณะงานที่ปฏิบัติงาน และระบุรายการงานที่รับผิดชอบของแต่ละตำแหน่ง ตามภารกิจหรือกลุ่มงานที่สำคัญ ๆ ที่ต้องปฏิบัติ เช่น อาชีพช่างซ่อมบำรุง งานที่รับผิดชอบ คือ ซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ตรวจสอบเครื่องจักร ฯลฯ
2. ชี้บ่งอันตราย
ต้องบอกได้ว่า งานที่ทำอยู่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างไรได้บ้าง โดยพิจารณาจากคำถามเหล่านี้
มีแหล่งกำเนิดของอันตรายหรือไม่ โดยมีแนวทางในการพิจารณาดังนี้
แหล่งที่เป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ เช่น สว่าน ปั้นจั่น เครื่องล้าง สายพาน มอเตอร์
แหล่งที่เป็นวัสดุหรือสารเคมี เช่น - วัสดุหรือสิ่งของตกหล่น/หล่น/ทับ - สารเคมีหก/รั่วไหล - วัสดุหรือสิ่งของหนีบ/ดึง/กดบีบ - สัมผัสสารเคมี - วัสดุหรือสิ่งของกระเด็นใส่ - สูดดม / ไอระเหย / กลิ่นของสารเคมี
แหล่งที่เกี่ยวกับพื้นที่/สภาพแวดล้อมในการทำงาน - ตกจากที่สูง / พื้นที่ต่างระดับ - หกล้ม / ลื่นล้ม - อุบัติเหตุจากยานพาหนะ - เสียงดัง - อาการเจ็บป่วยจากท่าทางการทำงาน - ถูกทำร้ายร่างกาย - ผลจากความเย็นจัดหรือสัมผัสของเย็น
3. การประเมินความเสี่ยง
นำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากกิจกรรมการทำงาน และการบ่งชี้อันตรายทั้งหมดนำไปประมาณระดับความเสี่ยงตามแบบฟอร์ม “การบ่งชี้อันตรายและการประเมินความเสี่ยง” โดยพิจารณาใน 2 ประเด็น ดังนี้ ขั้นตอนการดำเนินงาน สำหรับการประเมินความเสี่ยง
ระดับของความรุนแรงของอันตราย
โอกาสที่จะเกิดขึ้นของอันตราย
"ระดับของความรุนแรงของอันตราย ลักษณะของความรุนแรงแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ"
(1) ระดับความรุนแรงมาก
การบาดเจ็บ / เจ็บป่วยในระดับรุนแรง เช่น การสูญเสียอวัยวะ กระดูกแตกหัก การได้รับพิษ การบาดเจ็บหลายส่วนของร่างกาย การบาดเจ็บที่ทำให้เสียชีวิต โรคมะเร็งที่เกิดจากการทำงาน โรค อื่น ๆ ที่ทำให้อายุสั้นลง โรคร้ายแรงที่ทำให้เสียชีวิตฉับพลัน
ทรัพย์สินเสียหายมีมูลค่ามากกว่า 100,000 บาท
(2) ระดับความรุนแรงปานกลาง
การเจ็บป่วย / เจ็บป่วยในระดับปานกลาง เช่น บาดแผลฉีก ขาด แผลไฟไหม้อาการจากการถูกกระแทก อาการข้อเคล็ดอย่าง รุนแรง กระดูกร้าวเล็กน้อย อาการหูหนวก โรคผิวหนังอักเสบ โรค หืด อาการผิดปรกติของมือและแขน ความเจ็บป่วยที่มีผลให้เกิดความพิการเล็กน้อยอย่างถาวร
ทรัพย์สินเสียหายมีมูลค่ามากกว่า 5,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(3) ระดับความรุนแรงน้อย
การบาดเจ็บ / เจ็บป่วยในระดับเล็กน้อย เช่น การบาดเจ็บ เล็ก ๆ น้อย ๆ การระคายเคืองตาจากฝุ่น สิ่งรบกวนที่ทำให้ไม่สบาย เป็นครั้งคราว
ทรัพย์สินเสียหายเล็กน้อย มีมูลค่าไม่เกิน 5,000 บาท
4. จัดระดับความเสี่ยงจากอันตราย
เมื่อได้ ผลการประเมินความเสี่ยง นำผลดังกล่าว มาทำการประมาณระดับความเสี่ยง โดยการตัดสินความเสี่ยงจะพิจารณาโดยใช้ “ระดับความเสี่ยงของความรุนแรง” และ ”โอกาสที่เกิดของอันตราย”
5. การเตรียมแผนปฏิบัติการควบคุมความเสี่ยง
6. ทบทวนการประเมินความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยง ควรเป็นกระบวนการที่ต้องทำ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การจัดความเพียงพอของมาตรการควบคุม ควรมีการทบทวนอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงใหม่ ตามความจำเป็น ในทำนองเดียวกัน ถ้าสภาพการเปลี่ยนไป และทำให้อันตราย และความเสี่ยงเปลี่ยนไปด้วย ควรทบทวนการประเมินความเสี่ยงใหม
Commentaires