เทคนิคการจัดทำ 5ส เพื่อเพิ่มผลผลิต
อัปเดตเมื่อ 25 ต.ค. 2565
เทคนิคการจัดทำ 5ส เพื่อเพิ่มผลผลิต กิจกรรม 5 ส. ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างความตระหนักให้กับพนักงานในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามนโยบายและเป้าหมายขององค์การ และสามารถส่งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับการดำเนินธุรกิจ หากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ถูกสุขลักษณะ มาตรฐานการทำงานที่สอดคล้องกับการผลิต อาจส่งผลให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล หากได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตควบคู่ย่อมส่งผลต่อความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ เทคนิคการจัดทำ 5ส เพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ช่วยลดปัญหาความสูญเปล่าต่าง ๆ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้น และท้ายที่สุด ยกระดับและเพิ่มผลผลิตให้ได้คุณภาพที่สูง ลดต้นทุน เพิ่มกำไรให้กับองค์การและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพนักงานในองค์การมีส่วนร่วมซึ่งจะนำไปสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
องค์ประกอบการเพิ่มผลผลิต
องค์ประกอบในการเพิ่มผลผลิต เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากซึ่งผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงเพราะจะส่งผลถึงภาพลักษณ์ขององค์กรและเป็นการทำกำไรที่ยั่งยืน ปัจจุบันผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะคำนึงถึงแต่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว มุ่งแต่จะลดต้นทุนทำให้มีการละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณต่าง ๆ ทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ปฏิบัติงานในองค์กรผู้บริโภค ดังนั้นเทคนิคการจัดทำ 5ส เพื่อเพิ่มผลผลิต เพื่อให้มีการดำเนินการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติโดยส่วนรวม จึงควรปฏิบัติตามองค์ประกอบทั้ง 7 ประการ คือ QCDSMEE ดังนี้คือ
1. คุณภาพ (Quality)
คือสิ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ เพราะความพึงพอใจเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ช่วยในการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องคำนึงถึงคุณภาพมาก่อน
2. ต้นทุน (Cost)
หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปเพื่อดำเนินการผลิตหรือบริการ เริ่มตั้งแต่การออกแบบการผลิต การตรวจสอบ การจัดเก็บ การขนส่ง และการส่งมอบลูกค้าเรียกว่า เป็นต้นทุนการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย
3. การส่งมอบ (Delivery)
หมายถึง การส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับหน่วยงานถัดไป ซึ่งถือว่าเป็นลูกค้าของเราได้อย่างตรงเวลา มีจำนวนครบถ้วน และมีคุณสมบัติตรงตามที่ลูกค้ากำหนด เป็นการช่วยให้หน่วยงานได้เปรียบในการแข่งขัน การที่จะบรรลุผลสำเร็จได้นั้นหน่วยงานจะต้องมีระบบการส่งมอบภายในที่ดีเสียก่อน
4. ความปลอดภัย (Safety)
หมายถึง การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายกับพนักงาน ซึ่งส่งผลให้มีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน หรือหมายถึงการป้องกันการสูญเสียจากอุบัติเหตุ คือการบาดเจ็บ เจ็บป่วย ทรัพย์สินเสียหายและความสูญเสียเนื่องจากกระบวนการผลิต
5. ขวัญและกำลังใจในการทำงาน (Morale)
หมายถึง สภาพจิตใจของพนักงาน ความรู้สึกที่มีต่อองค์กรที่ปฏิบัติงานอยู่ ซึ่งวัดระดับความรู้สึกของพนักงานทำได้ยาก แต่สามารถสังเกตดูพฤติกรรม ความสำคัญของขวัญและกำลังใจ สามารถทำให้พนักงานมีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อองค์กร มีความสามัคคี มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ นำไปสู่จุดมุ่งหมายที่องค์กรกำหนดไว้
6. สิ่งแวดล้อม (Environment)
หมายถึง สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มีทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น อากาศ น้ำ ดิน ต้นไม้ สัตว์ ฯลฯ ซึ่งในการดำเนินธุรกิจโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และชุมชน
7. จริยธรรม (Ethics)
หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยไม่เอาเปรียบทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คือ ลูกค้า ผู้จัดหาสินค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่แข่ง ภาครัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม
5ส เพื่อการเพิ่มผลผลิต
ส – สะสาง (Seiri หรือ Sort)
เริ่มต้นแยกสิ่งที่ต้องการจัดระเบียบให้ชัดเจนระหว่าง “สิ่งจำเป็น” และ “สิ่งไม่จำเป็น” หรือแยกสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่เป็นหมวดหมู่ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานหรือไม่ นับเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาและความตั้งใจเป็นอย่างมาก เพราะเราต้องกล้าตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่าอะไรคือสิ่งที่มีประโยชน์ หรือสปาร์คจอยจริง ๆ ฉะนั้นความรู้สึกเสียดายจึงเป็นอุปสรรคใหญ่ของขั้นตอนนี้
ส – สะดวก (Seiton หรือ Set in Order)
คือการนำสิ่งที่สะสางมาจัดวางอย่างเป็นระเบียบ โดยคำนึงถึงกระบวนการใช้งานและความปลอดภัย พูดง่าย ๆ ก็คือการนำมาวางในพื้นที่ที่หยิบใช้งานง่าย อาจทำป้ายระบุว่าคืออะไร อยู่หมวดหมู่ไหน หรือเก็บไว้ตรงไหน
ส. 2 จึงเป็นขั้นตอนที่ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลากับเรื่องเล็ก ๆ น้อยๆ อีกต่อไป
ส – สะอาด (Seiso หรือ Shine)
คือการทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถูตามที่เราเข้าใจนั่นแหละ เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้น่ารื่นรมย์และน่าทำงาน สิ่งนี้มีผลอย่างมากต่อจิตใจพนักงานในรู้สึกดี
ยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นการทำความสะอาดเครื่องจักรโรงงาน ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานให้นานกว่าเดิม
ส – สร้างมาตรฐาน (Seiketsu หรือ Standardize)
สุขลักษณะเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติ 3 ส. แรก เราจึงควรปรึกษาหารือว่าอะไรคือมาตรฐานสุขลักษณะที่พนักงานต้องการ เพื่อที่ว่าทุกคนจะได้ปฏิบัติรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยตามมาตรฐานนั้น ๆ
และเมื่อองค์กรมีสุขลักษณะที่ดีเกิดขึ้น ประสิทธิภาพของพนักงานก็จะดีตามไปด้วย
ส – สร้างนิสัย (Shitsuke หรือ Sustain)
ส. ตัวสุดท้ายมุ่งไปที่การสร้างระเบียบวินัย หรือสร้างให้เกิดนิสัยขึ้นมาจริง ๆ นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากและยากที่สุด เพราะคำว่า “นิสัย” ไม่ได้ขึ้นเกิดแค่การทำเพียงครั้งเดียว แต่เกิดจากการหมั่นปฏิบัติซ้ำ ๆ เป็นประจำจนกลายเป็นเรื่องปกติ
5ส เพื่อการเพิ่มผลผลิต
มาตรฐานการใช้สี
ประกอบในการดำเนินกิจกรรม 5ส.
ขั้นตอนการทำกิจกรรม
Big Cleaning Day
กลยุทธ์การชักจูง
เพื่อให้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
กลยุทธ์การชักจูงเทคนิคการจัดทำ 5ส เพื่อเพิ่มผลผลิต เพื่อให้มีส่วนร่วมในกิจกรรม มีดังนี้
สร้างการมีส่วนร่วมประกวดคำขวัญกำหนดเกณฑ์ในการตรวจ มีส่วนในการกำหนดแผนงาน " ข้อเสนอแนะ"
การพาไปศึกษาดูงาน/คำแนะนำจากคนภายนอก
การกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ เช่น 5 นาที 5ส. วันพุธยุทธการ 5ส 5 สิงหา 5 ส.
การตรวจของผู้บริหาร 5ส PARTROL และการทำเป็นตัวอย่าง
การจัดประกวดพื้นที่
การใช้สื่อต่าง ๆ โปสเตอร์ , เข็มกลัด เสียงตามสาย ฯลฯ
แต่ละโซน 5ส ต้องมีแผนรณรงค์ในการปฏิบัติกิจกรรม
Comments