ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สูงสุด คือ ชลบุรี ระยอง และ ภูเก็ต เริ่ม 1 ต.ค.
อัปเดตเมื่อ 14 ก.ย. 2565
#ค่าแรงขั้นต่ำ #ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ #ค่าแรง
ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ เริ่ม 1 ต.ค. 2565

นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ครั้งที่ 8/2565 ว่า คณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมพิจารณาและมีมติการขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2565 โดยได้ข้อสรุปร่วมกันในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งแบ่งเป็น 9 อัตรา ได้แก่
ข้อสรุปในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แบ่งเป็น 9 อัตรา ได้แก่
ค่าจ้าง 354 บาท มี 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และภูเก็ต
ค่าจ้าง 353 บาท มี 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
ค่าจ้าง 345 บาท มี 1 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา
ค่าจ้าง 343 บาท มี 1 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา
ค่าจ้าง 340 บาท มี 14 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี หนองคาย อุบลราชธานี พังงา กระบี่ ตราด ขอนแก่น เชียงใหม่ สุพรรณบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ลพบุรี และสระบุรี
ค่าจ้าง 338 บาท มี 6 จังหวัด คือ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ สกลนคร สมุทรสงคราม จันทบุรี และนครนายก
ค่าจ้าง 335 บาท มี 19 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี บึงกาฬ ชัยนาท นครพนม พะเยาสุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย พัทลุง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก อ่างทอง สระแก้ว บุรีรัมย์ และเพชรบุรี
ค่าจ้าง 332 บาท มี 22 จังหวัด คือ อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ตรัง ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู อุทัยธานี ลำปาง ลำพูน ชุมพร มหาสารคาม สิงห์บุรี สตูล แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร ราชบุรี ตาก นครศรีธรรมราช ชัยภูมิ ระนอง และพิจิตร
ค่าจ้าง 328 บาท มี 5 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน และอุดรธานี
ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2565 เริ่ม 1 ตุลาคม 2565

นายบุญชอบ กล่าวต่อว่า การพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2565 ในครั้งนี้มีอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 337 บาท คิดเป็น 5.02 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ประชุมได้พิจารณากำหนดบนพื้นฐานของความเสมอภาค เพื่อให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ ลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข และเพื่อเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ
ทั้งนี้ เมื่อมีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565 แล้ว คณะกรรมการค่าจ้างได้มีข้อเสนอให้รัฐบาลมีการออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในส่วนค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ เพื่อนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม กระทรวงแรงงาน จะนำผลสรุปเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบโดยเร็วที่สุด เพื่อให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
ขณะที่ มุมมองนักวิเคราะห์ บล.โนมระ พัฒนสิน กล่าวว่า การพิจารณาปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของภาค
รัฐ ที่จะให้มีผล 1 ตุลาคม 2565 (ปีนี้) เร็วขึ้นจากที่คาดไว้ในเดือน ม.ค. ปีหน้า โดยมองผลกระทบเป็น 3 ส่วน คือ
สรุปผลกระทบของการปรับขึ้นค่าแรง
ผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ คาดสร้างความเสี่ยงเงินเฟ้อสูง ขึ้นร้อยละ 0.6-1 ในปี 2565 - 2566 จากที่ คาดไว้ที่ร้อยละ 6.4 และร้อยละ 2.8
ส่วนผลกระทบต่อกำไรกลุ่มอุตสาหกรรม มองกลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูง คือ โรงแรม, ร้านอาหาร,รับเหมาก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์
ผลกระทบต่อประมาณการกำไรตลาดปี 2566 จะอยู่ที่ราวร้อยละ 0.7 ของประมาณการกำไรต่อหุ้นที่ 104 บาท
ดังนั้น กลยุทธ์จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบระยะสั้น จากต้นทุนใหม่ ก่อนจะปรับเพิ่มราคาชดเชยได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป อาทิ รับเหมา, อสังหาริมทรัพย์ รองมา คือ ร้านอาหาร,โรงแรม, โรงหนัง ให้น้นลงทุนหุ้นเช่าซื้อ, หุ้นรับบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ, หุ้นที่มีฐานรายได้จากลูกค้าแรงงาน และDigital Tech Consult หุ้นเด่นที่มีโอกาสได้ประโยชน์ ในธีมนี้ ได้แก่ SINGER,TIDLOR, KTC, JMT, CBG, OSP, BE8, BBIK และ IIG
การออกแบบและบริหารโครงสร้างเงินเดือนอย่างมืออาชีพ เพื่อรักษาคนเก่งให้ทำงานกับบริษัทต่อไปได้
การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จึงมีผลต่อธุรกิจของคุณอย่างยิ่ง ที่ผ่านมาองค์การก็ไม่เคยมีโครงสร้างเงินเดือน มีแต่อัตราเงินเดือนเริ่มต้น หากรับพนักงานใหม่ที่มีประสบการณ์ ก็จะเอาเงินเดือนของทุกคนที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกับตำแหน่งที่จะรับมาเปรียบเทียบ แล้วดูว่าผู้สมัครขอมามากหรือน้อยแค่ไหน แล้วทำการ เจรจาต่อรองเพื่อไม่ให้กระทบคนเก่า “ทำไมเวลาทำโครงสร้างเงินเดือนต้องใช้ข้อมูลจากผลสำรวจค่าจ้างด้วยหรือ” ปัจจุบันองค์การก็มีโครงสร้างเงินเดือนเหมือนกัน ซึ่งใช้มาหลายปี ไม่เน้นเรื่องอัตราเงินเดือนตลาดแรงงาน ไม่ได้ สำรวจหรือเปรียบเทียบอัตราเงินเดือนใช้แต่หลักความสามารถในการจ่าย พอมีการปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะปรับเงินเดือนในระดับที่ต่ำสุดให้เท่ากับค่าจ้างขั้นต่ำกำหนด ส่วนระดับที่สูงขึ้นไปปรับเพิ่มเล็กน้อย แต่ไม่ได้ปรับทุกระดับ “องค์การสามารถรักษาพนักงานที่เก่งไว้ได้หรือไม่” เมื่อองค์การต้องการรักษาพนักงานที่ทำงานเก่งมีฝีมือ ทำงานอยู่กับองค์การนาน ๆ
หากองค์การไม่ได้สร้างเส้นทางเติบโตให้พนักงานและไม่มีระบบการจ่ายเงินเดือนที่สามารถแข่งขันกับตลาดแรงงานได้ เป็นธรรมดาที่ทุกคนต้องการความเจริญก้าวหน้า กล่าวคือ ต้องการมีรายได้เพิ่มขึ้นตามประสบการณ์ และต้องการมีตำแหน่งสูงขึ้น “กลยุทธ์การจัดทำโครงสร้างเงินเดือน” เป็นวิธีการบริหารเงินเดือนอย่างเป็นระบบ ช่วยให้การจ่ายเงินเดือนมีความเป็นธรรม พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงาน องค์การสามารถรักษาระดับการจ่ายเงินเดือน สามารถแข่งขันกับตลาดแรงงาน และสามารถดึงดูดคนเก่งเข้ามาร่วมงาน รวมทั้งยังสามารถที่จะรักษาคนเก่งให้ทำงานกับบริษัทต่อไปได้ สนใจอบรม การออกแบบและบริหารโครงสร้างเงินเดือนอย่างมืออาชีพ คลิกที่นี่
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ , ไลน์ทูเดย์