การวิเคราะห์ระบบวัด
(Measurement System Analysis : MSA)
หลักการและเหตุผล ระบบการวัดปัจจุบันมีความสำคัญต่อการยืนยันผลการตรวจสอบคุณภาพ ถึงแม้ว่าระบบการผลิตจะมีความถูกต้อง แต่ถ้าระบบการวัดมีความผิดพลาดก็อาจส่งผลต่อการตัดสินใจที่คลาดเคลื่อนได้ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าระบบการวัดขาดความเที่ยงตรง และความแม่นยำ ซึ่งจะส่งผลทันทีต่อการตัดสินใจด้านการวัดและวิเคราะห์ค่าของการตรวจสอบชิ้น งานที่มีความผิดพลาด ทำให้ขาดความเชื่อมั่นจากทางลูกค้าในระยะยาวได้ ดังนั้นระบบการวัดจึงถือเป็นระบบพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นที่จะต้องมีการควบ คุม และต้องลดความผันแปรในระบบการวัดซึ่งจำเป็นในช่วงของการทดลองผลิตและการผลิต
Measurement System Analysis: MSA จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการศึกษาความผันแปรและความถูกต้องของระบบการวัดที่ใช้ในการตรวจสอบ และ ทดสอบผลิตภัณฑ์ตามหลักการของระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยจะครอบคลุมการศึกษาระบบการวัดที่ครอบคลุม Accuracy, Linearity, Stability, Repeatability, and Reproducibility ซึ่งสอดคล้องกับ ข้อกำหนดใน MSA ที่ AIAG (Automotive Industry Action Group.)


วัตถุประสงค์
-
เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้เข้าใจพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของ MSA.
-
เพื่อให้ผู้อบรมมีทักษะการวิเคราะห์ระบบการวัดทั้งแบบ Variables และ Attribute.
-
เพื่อให้ผู้อบรมนำความรู้ที่ได้ไปวิเคราะห์ระบบการวัดเพื่อลดความแปรผันที่เกิดขึ้นจากระบบการวัด
-
เพื่อให้ผู้อบรบสามารถวางแผนการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผล ตลอดจนกำหนด แนวทางปรับปรุง กระบวนการตรวจวัดได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
-
ผู้อบรมมีความรู้ความเข้าใจหลักการของการวิเคราะห์ระบบการวัด
-
ผู้อบรมมีทักษะการวิเคราะห์ระบบการวัดทั้งแบบ Variables และ Attribute.
-
ผู้อบรมนำความรู้ที่ได้ไปวิเคราะห์ระบบการวัดเพื่อลดความแปรผันที่เกิดขึ้นจากระบบการวัด
-
ผู้อบรมสามารถวางแผนการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผล ตลอดจนกำหนด แนวทางปรับปรุง
กระบวนการตรวจวัดได้
เนื้อหาการบรรยาย

Lesson 1: ความเข้าใจพื้นฐานและวัตถุประสงค์ของ MSA
ข้อกำหนด ISO/TS16949 ที่เกี่ยวข้องกับ MSA
ความหมายของ “การวัด”
ผลกระทบของการวัด (α, β) ที่มีต่อผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
บทบาทของการวัดต่อการควบคุมกระบวนการ และผลิตภัณฑ์
หลักการและความแปรผันในระบบการวัด
Lesson 2: การวิเคราะห์ความแม่นยำของระบบการวัดแบบ Variable
GR&R คืออะไร
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความแม่นยำ
Run Chart แสดงผลการวัดแต่ละชิ้น/แต่คนละ
Whiskers Chart แสดงให้เห็นพิสัยของการวัดแต่ละชิ้น/แต่คนละ
Lesson 3: การวิเคราะห์ความถูกต้องของระบบการวัดแบบ Variable
Bias คืออะไร
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความเที่ยงตรง
คำนวณหาค่า bias












Lesson4: การวิเคราะห์ความถูกต้อง/แม่นยำ เมื่อเปลี่ยนย่านวัดแบบ Variable
Linearity คืออะไร
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงและแม่นยำในแต่ละย่านวัด
คำนวณหาค่า bias แต่ละย่านวัด
คำนวณหาช่วงความเชื่อมั่น ของ Bias แต่ละย่านวัด
Lesson 5: การวิเคราะห์ความถูกต้อง/แม่นยำเมื่อเปลี่ยนย่านวัดแบบ Variable Stability คืออะไร
ขั้นตอนการทวนสอบความเที่ยงตรงและแม่นยำ
การคำนวณหาค่า UCL, LCL ของ Bais
นำเสนอผลการวิเคราะห์
Lesson 6: การวิเคราะห์เสถียรภาพการวิเคราะห์ระบบการวัดแบบนับ
Kappa คืออะไร
ขั้นตอนการวิเคราะห์ Repeatability, Reproducibility แบบ Attribute
การคำนวณ Kappa, Effectiveness, Miss Rate , False Alarm Rate










คอร์สนี้เหมาะสมกับใคร ?
-
ผู้รับผิดชอบงานด้านคุณภาพและผลิตภัณฑ์ วิศวกร ผู้รับผิดชอบด้านอุปกรณ์ เครื่องมือวัด และทดสอบ และควรมีความรู้พื้นฐานทางด้านสถิติ
สิ่งที่คุณจะได้รับจากคอร์สนี้ ?
-
หลักการของการวิเคราะห์ระบบการวัด
-
การวิเคราะห์ระบบการวัดทั้งแบบ Variables และ Attribute
-
วิเคราะห์ระบบการวัดเพื่อลดความแปรผันที่เกิดขึ้นจากระบบการวัด
-
วางแผนการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผล
Top Professional And Development Co.,Ltd
สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้บริการฝึกอบรมและสัมมนา IN-House & Public Training
บริการด้านฝึกอบรม
ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
ด้านบริหารระบบคุณภาพ
ด้านมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ
ด้านการบริการการตลาดและการขาย
ด้านการบริหารโลจิสติก การคลัง และการขนส่ง
บริการให้คำปรึกษาด้าน ISO 14001: 2015 /ISO 9001 :2015






ตารางสัมมนา
วันที่จัดสัมมนา
รุ่น
สถานที่
บุคคลทั่วไป
สมาชิก
สมัครอบรม
OUR CLIENTS
ลูกค้าบางส่วนของเราที่ใช้บริการ Training
![]() | ![]() | ![]() |
---|---|---|
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |